การส่งเสริมสมรรถภาพทางกายในเด็กดาวน์ซินโดรม โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง

ผู้แต่ง

  • คมสันต์ พลึกรุ่งโรจน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สังเวียน ปินะกาลัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมรรถภาพทางกาย, เด็กดาวน์ซินโดรม, กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายในเด็กดาวน์ซินโดรม ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้เรียนได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา(ดาวน์ซินโดรม) และกำลังศึกษาอยู่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2565 อายุระหว่าง 4-6 ปี จำนวน 5 คน การวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง ทดลอง 20 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง และแบบบันทึกข้อมูลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในด้านความเร็วใช้แบบทดสอบวิ่งเร็ว 20 เมตร และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาใช้แบบทดสอบยืนกระโดดไกล โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank Test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรที่ศึกษาระหว่างก่อนและหลัง

ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/84.44 เป็นไปตามเกณฑที่ตั้งไว้ 80/80 และหลังการทดลองใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลง เด็กดาวน์ซินโดรมมีสมรรถภาพทางกายสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           สรุปผลการวิจัยได้ว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายในด้านความเร็ว และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา สำหรับเด็กดาวน์ซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กมลวรรณ พงษ์นิรันดร. (2563). การศึกษาความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมโดยใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ. Lawarath Social E-Journal, 2(1), 55-63.

กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับ มัธยมศึกษา(อายุ 13-18 ปี). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

แก้วตา แซ่ล่าย. (2562). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนชั้น อนุบาล 3/4. วารสาวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 3(1), 21-29.

คณะกรรมการส่งเสริมกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในสถาบันการศึกษา สำนักงาน กองทุน สนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ. (2549). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐาน สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์ กับสุขภาพสำหรับเด็กไทย อายุ7-18 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: พี.เอส.ปริ้นท์.

จุฑามาศ วงศ์สุวรรณ. (2548). การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรดาว อนุกูลประชาและคณะ. (ม.ป.ป.). คู่มือการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีทางการกีฬา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ชวภรณ์ สุริยจันทร์. (2554). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 12(2), 89-98.

ทาญิการ์ ศรีสมภาร. (2562). แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย สำหรับเด็กปฐมวัย. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2565, จาก https://www.youngciety.com/article/journal/body-development.html

นัยนันต์ จิตประพันธ์. (2557). การป้องกันและการดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(3), 73-87.

ปรมพร ดอนไพรธรรม. (2550). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์โดยใช้กิจกรรมโยคะ. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฒน์ศรุต ช้างนิล. (2565). การออกแบบกิจกรรมโนรา เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กออทิสติก กรณีศึกษาสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(สทมส.), 28(3), 152-162.

เยาวรัตน์ รัตนธรรม. (2561). การเพิ่มการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทาง วิทยาการปัญญาวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการ ปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.

รังสฤษฏิ์ บุญชะลอ. (2541). กิจกรรมเข้าจังหวะ. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11.

วรากร วารี. (2564). ผลของการฝึกโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย การทรงตัว และระดับสมาธิ ในเด็กออทิสติก ที่มีภาวะสมาธิสั้นร่วมด้วย. วารสารและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 77-91.

วันเฉลิม เบ้ามี. (2553). การสร้างแบบฝึกสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์, 4(4), 193-198.

วารุณี สกุลภารักษ์ และคณะ, (2562). ดนตรีและกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(3), 203-208.

วิภาดา พ่วงพี. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน. วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 167-181.

ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์ และคณะ. (2561). กิจกรรมพลศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กที่มีความ ต้องการพิเศษ. วารสารศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2561, 91-97.

สมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล (2555). สารพันเรื่องราวเพื่อดาวน์ ที่คุณรัก. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สาลิกา แก้วน้ำ และคณะ. (2553). ผลของชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง ที่มีต่อทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของเด็กดาว์นซินโรมในสถาบันราชานุกูล. กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ สถาบันราชานุกูล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวทางแนะวิธีการเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กปฐม ตามสมรรถนะ เพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0-5 ปี. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2555). แบบทดสอบ และเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับเด็กไทย อายุ 4-6 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ.

อินทร์ตรอง นิตจโรจน์. (2564). กิจกรรมทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยกับการส่งเสริมความเข้าใจเรื่องจังหวะพื้นฐาน. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 7(1), 189-202.

Drzewowska, I., Sobera, M., & Sikora, A. (2013). Posture control after 5 months body balance training in Down syndrom children and youth. Physiotherapy Quarterly, 21(3), 3.

Fox, B., Moffett, G. E., Kinnison, C., Brooks, G., & Case, L. E. (2019). Physical activity levels of children with Down syndrome. Pediatric Physical Therapy, 31(1), 33-41.

Sydoruk, I., Grygus, I., Podolianchuk, I., Ostrowska, M., Napierała, M., Hagner-Derengowska, M., ... & Skalski, D. (2021). Adaptive physical education for children with the Down syndrome. Journal of Physical Education and Sport, 21, 2790-2795.

Wentz EE, Looper J, Menear KS, Rohadia D, Shields N. (2021). Promoting Participation in PhysicalAc tivity in Children and Adolescents with Down Syndrome. Phys Ther, 101(5), 032.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28