การใช้ชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ทิตาวีร์ การรัมย์ คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สังเวียน ปินะกาลัง คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ชุดฝึกกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหา, ความฉลาดทางอารมณ์ , วัยรุ่น

บทคัดย่อ

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย และจิตใจที่ซับซ้อนที่สุด เป็นวัยช่วงต่อของชีวิตจากเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ช่วงวัยรุ่นจะมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวัยรุ่น จึงจำเป็นต้องหากลวิธีในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์  คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาในการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการคิดแก้ปัญหา โดยมีกลุ่มเป้าหมายวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านโนนท่อนวิทยา จำนวน 55 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 4 กิจกรรมและกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อีก 6 กิจกรรม 2) แบบประเมินวัดความฉลาดทางอารมณ์ เก่งดีมีสุข ซึ่งประกอบด้วยด้านย่อยสำคัญ 6 ด้านดังนี้ 1) ด้านการตระหนักรู้ 2) ด้านการแสดงออก  3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ 4) ด้านการตัดสินใจ 5) ด้านการจัดการความเครียด และ 6)  ด้านความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน T-test ค่าความถี่ ร้อยละ        

ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ที่  81.54/87.67 และผลการประเมินวัดความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังการทดลองแต่ละด้านสูงกว่าการทดลอง เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). การออกแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณการกำหนดตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. จาก https://shorturl.asia/w9kaQ. (ออนไลน์).

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษาหน่วยที่ 8 – 15 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2546). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน, สารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1). หน้า 8-10. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/X1xu6

ดวงฤดี บุญราศรี. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 3 (8), หน้า 68-70. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/6JDAK

ธนิตา สังข์บัวศรี. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี. 5 (1). หน้า 3-11 สืบค้นจาก https://shorturl.asia/y9sxm

พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา, อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35 (3), หน้า 213-217. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/d2lQG

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2546). เทคนิคและวิธีการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธุ์. วารสารวิทยบริการ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 15 (1). หน้า 40. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/V2XFD

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2561). คู่มือกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในวัยรุ่นอายุ 16 - 18 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด, 2561. หน้า 3-5

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต (2561). คู่มือกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในวัยรุ่นอายุ 12 - 16 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด, 2561. หน้า 11-20

อัจฉรา สุขารมณ์, อรพิน ชูชม. (2548). โปรแกรมการส่งเสริมและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามแนวตะวันออกสำหรับเยาวชนไทยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี. รายงานวิจัยฉบับที่ 112: มหาวิทยาลัยศรีนคิรนทร์วิโรฒ. หน้า 74-78. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/K8Jip

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28