การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • พรรณิษา เอี่ยมอ่อน คณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาทร นกแก้ว คณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

แนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด(Think Pair Share), ความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณ, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 4 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แนวทางนี้ มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การออกแบบสถานการณ์ปัญหาในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนมีทางเลือกหลากหลายวิธีหรือแนวคิดในการตัดสินใจที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทบทวนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาในสถานการณ์ และการกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลในชั้นเรียน นอกจากนี้ พบว่า เมื่อผ่านการเรียนรู้ทั้ง 4 วงจร นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความสามารถรายด้าน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น และการตีความอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความสามารถในการการสรุปอ้างอิง การนิรนัย และการประเมินข้อโต้แย้งอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชรินทร์ สงสกุล. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

ญาสุมิน สุวรรณไตรย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

วัชรพล จันทรวงศ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาแบบ DAPIC ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

สุรชัย วงศ์จันเสือ. (2555). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC และ CGI ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

ปิยวรรณ ผลรัตน์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อสมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดความสามารถในการคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

สหพงศ จั่นศิริ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาหลักการจัดการฟาร์ม สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

เบญญาภา ราชพัฒน์. (2561). การศึกษาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเพศแตกต่างกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

Byerley, R. Aaron. (2001). Using Multimedia and "Active Learning" Techniques to"Energize " An introductory Engineering Thermodynamics Class. Frontier in EducationConference, 2002.

Ika Putri Wulandari, Rochmad Rochmad & Sugianto Sugianto (2019). Critical Thinking Ability in terms of Adversity Quotient on DAPIC Problem Solving Learning. Retrieved August 5, 2022, from https://journal.unnes.ac.id/sju/index.php/ujmer/article/view/30421

Ika Putri Wulandari, Rochmad Rochmad & Sugianto Sugianto (2020). Integrated Between DAPIC Problem Solving Model and RME Approach to Enhance Critical Thinking Ability and Self Confidence. Retrieved August 5, 2022, from https://eric.ed.gov/?id=EJ1269830

Karnjanarukpong, S. (2004). 29 Techniques for organizing a variety of learning activities:cooperative learning. Bangkok: Tarn Aksorn. (in Thai)

Lyman, F.T. (1981). The responsive classroom discussion. In A. S. Anderson (Ed.), Mainstreamong digest. College Park: University of Maryland College of Education. Retrieved July 23, 2022, from http://rightsstatements.org/page/InC/1.0/?language=en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28