ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมทักษะชีวิตกับการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธนัญชกร คงวิเชียร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ทักษะชีวิต, การบริหารกิจการนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมทักษะชีวิตของสถานศึกษา การบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมทักษะชีวิตกับการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

          ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 311 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การส่งเสริมทักษะชีวิตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
  2. การบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผนงานกิจการนักเรียน ด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการบริหารงานกิจการนักเรียน ด้านการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน และด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมทักษะชีวิตของสถานศึกษากับการบริหารกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2557). การบริหารวิชาการและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์. (2560). หลักการสอนและการจัดการเรียนรู้. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ทองแดง แสวงบุญ และสุรางคนา มัณยานนท์. (2564). การบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนปทุมราชวงศา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี, 5(1), 180-188.

ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 62-74.

พระศรีรัตน์ สิริรตโน. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรินทร์ รุจิชีพ. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 131-141.

พิมพ์ผกา โพธิจันทร์. (2564). การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

พิศุทธิภา เมธีกุล. (2564). เอกสารการสอนชุดวิชา ทักษะชีวิต 10103 หน่วยที่ 1-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2565). คุยเรื่องทิศทางการศึกษาปี 65 กับ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. ค้นจาก https://www.eef.or.th/article-education-direction-2565

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2565). ทักษะชีวิต. ค้นจาก http://www.teenrama.com

รมณภัทร กตตน์วงศกร. (2557). การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ) สํานักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

วณิชย์ เอื้อน้อมจิตต์กุล. (2556). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.

วัชราภรณ์ เงินปุ่นนาค. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะชีวิตกับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ของนักเรียนมัธยมต้นในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันชัย หวังสวาสดิ์. (2559). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมพิศ โห้งาม. (2550). การจัดการและการบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สรวิศ เพชรภูมิภัทร. (2565). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 109-122.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความเป็นพลเมืองในวิถีระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สุรพัชร เกตุรัตน์. (2561). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการราชบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิชา แดงจำรูญ. (2563). หนังสือชุด “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ” ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอมอร กฤษณะรังสรรค์. (2565). ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น. ค้นจาก https://www.novabizz.com/NovaAce

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28