การเสริมสร้างความฉลาดทางจิตวิญญาณของนิสิตปริญญาตรีโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางจิตวิญญาณ , การให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค, นิสิตปริญญาตรีบทคัดย่อ
งานวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนิสิตปริญญาตรี และเปรียบเทียบความฉลาดทางจิตวิญญาณของนิสิตก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค รวมทั้งเปรียบเทียบความฉลาดทางจิตวิญญาณระหว่างนิสิตกลุ่มที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม
และนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 354 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากร ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 ที่มีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางจิตวิญญาณตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาจำนวน 12 คน สุ่มเข้ากลุ่ม (assign random sampling) เป็นกลุ่มทดลอง
6 คน จาก และกลุ่มควบคุม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณ และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิคเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจิตวิญญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์มีฉลาดความฉลาดทางจิตวิญญาณอยู่ระดับสูง 2. นิสิตกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางจิตวิญญาณโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนกรายองค์ประกอบกลับพบว่า เฉพาะองค์ประกอบด้านการคำนึงถึงการดำรงอยู่ของชีวิต องค์ประกอบด้านการสร้างเป้าหมายในชีวิต และองค์ประกอบด้านการพัฒนาระดับการมีสติ ที่นิสิตกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 และ 3. นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค มีความฉลาดทางจิตวิญญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดกระทำใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
ขวัญชนก นันทะชาติ. (2558). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ธัญณิชา เปไธสง. (2557). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีอัตถิภาวนิยม. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554). การเปรียบเทียบทฤษฎีการให้คำปรึกษาและการพัฒนาแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา ในประมวลสาระชุดวิชา แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการเชิงจิตวิทยา. ใน ประมวลสาระชุดวิชา แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการเชิงจิตวิทยา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภัทรพร เตชทวีฤทธิ์. (2561). การศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวอัตถิภาวนิยมผสานเอ็นเนียแกรมที่มีต่อความฉลาดทางจิตวิญญาณองผู้ใหญ่วัยทำงาน. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ค. (2562). มคอ.2 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(4ปี)(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). สืบค้นจาก https://inded.edu.swu.ac.th/images/file/tqf_4_2562.pdf
สรรเสริญ หุ่นแสน. (2560). การศึกษาและการเสริมสร้างปณิธานแห่งตนทางการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเทคนิค. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สินาพร วิทยาวนิชชัย. (2561). การศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์แห่งตนและอัตลักษณ์ทางวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุดารัตน์ รัตนเพชร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางจิตวิญญาณ สติ และความสุขตามแนวทางพุทธศาสนา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Emmons, R. A. (2000). Is spirituality an intelligence? Motivation, cognition, and the psychology of ultimate concern. The international Journal for the Psychology of Religion, 10, 3-26.
Green, W. N., & Noble, K. D. (2010). FosteringSpiritualIntelligence Untergraduates Growth in a Course About Consciousness. Advance Deverlopment, 12, 27-48.
King, D. B. (2008). Rethinking claims of spiritual intelligence: a definition, model, and measure. (Master's thesis). Trent University, Ontario, Canada.
Pajak, E., & Blaise, J. (1989). The impact of teacher's personal lives on professional role enactment. A qualitative analysis. American Educational Research Journal., 26(2), 283-310.
Thorne, & Frederick, C. (2011). Principles of personality counseling: An eclectic viewpoint. . Mliton Keynes: Lightning source UK Ltd..
Zohar, D., & Marshall, I. (2000). SQ: Spiritual intelligence, the ultimate intelligence. London: Bloomsbury.