การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบ Active Learningบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ จังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาชีววิทยา 1 2) แบบสังเกตทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับดี และมีพัฒนาการของทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ2) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยาดา เหง่าบุญมา และ จิรดาวรรณ หันตุลา. (2565). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่องวงจรไฟฟ้า ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(2). 90-102.
เจษฎา นาจันทอง. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่องการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับไอซีที เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3). 235-251.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ปรเมศวร์ ขาวสุด ดวงเดือน สุวรรณจินดา และ สุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ จังหวัดตรัง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(1). 132-146.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). จากการประเมิน PISA 2022 เตรียมพร้อมก้าวสู่การประเมิน PISA 2025. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-20/.
สิริกัลยา สุวะรักษ์ และอนุสรณ์ จันทร์ประทักษ์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกวิชาชีววิทยา เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ว.มรม., 15(2). 41-54.
สุภกร บัวสาย. (2566). โครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2566 จาก https://research.eef.or.th/research/research-creative-thinking-and-critical-thinking/.
สุมาลี จันทร์ชะลอ. (2542). การวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อส่งเสริม กรุงเทพ.
เสาวเพ็ญ บุญประสพ. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดย การใช้ TAPSE Model. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563 (หน้า 1868-1878). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์.
สํานักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Marzano, Robert J. (2001). Designing a New Texonomy of Education Objective. Thousand Oaks,California : Corwin Press.