การบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค ศกุนตนาค สาขาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
  • นักรบ หมี้แสน สาขาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการการเรียนรู้, การพัฒนาเชาวน์ปัญญาเด็กปฐมวัย, โรงเรียนเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะด้านเชาวน์ปัญญาของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร

        กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายระดับปฐมวัย และครูผู้สอนระดับปฐมวัย ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากการกำหนดขนาดตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง โรงเรียน 480 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที และค่าเอฟ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็กปฐมวัย มีระดับการปฎิบัติในการจัดทำแผนการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.98) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยด้านการจัดสื่อและนวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.09)  ส่วนด้าน การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.91)  2) ผลการเปรียบเทียบระดับการศึกษากับการบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็กปฐมวัยทั้ง 6 ด้าน พบว่าโดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน วิเคราะห์รายด้านพบว่าด้านการนำผลการวัดไปปรับกิจกรรมไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรุ้ การจัดสื่อและนวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม และการนำผลการจัดกิจกรรมไปปรับปรุงทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกันเลย 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะด้านเชาวน์ปัญญาของครูปฐมวัยในสถานศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็กปฐมวัยผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กกล้าแสดงออกตามความคิด และพัฒนาการด้านเชาวน์ปัญญาโดยใช้จินตนาการของตนเองในการเคลื่อนไหวร่างกาย กิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กเรียนรู้ผ่านสื่อ วัสดุ สิ่งประดิษฐ์ และผลงานการวาดภาพ การปั้นและชื่นชมผลงานของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามความสนใจ สนุกเพลิดเพลิน รู้จักวางแผน แก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงการเก็บของเล่นเข้าที่อย่างมีระเบียบเมื่อเล่นเสร็จ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กได้ฝึกคิดวิเคราะห์ วานแผน และลงมือปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์ และเรียนรู้กับบุคคลอื่น กิจกรรมกลางแจ้ง การเลือกเล่นอิสระตามความสนใจภายใต้ข้อตกลง และการระมัดระวังอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่น  และกิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่น การแข่งขันโดยมีข้อกำหนด จุดมุ่งหมาย กฎเกณฑ์ กติกา เด็กมีปฏิภาณไหวพริบ สนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กจดจำบทเรียนได้เร็วและจะได้นาน ทั้งนี้ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพที่มีในตัวของเด็กแต่ละคนอย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรม โดยครูคอยให้คำแนะนำ สนับสนุนและรับฟังสิ่งที่เด็กสะท้อนความคิดเห็นออกมา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะดี เก่ง มีสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

ดางรุ่ง ผ่องใส. (2559.) ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545.) การวิจัยพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ. สุริวิยาสาสน์.

เผชิญ กิจระการ. (2544.) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2) การวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคามภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายสุดา ปั้นตระกูล และคณะ.(2555.) การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนระดับอนุบาลในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25