การประเมินทักษะทางการเงินของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ถิรเดช พรหมคช โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กฤษกร โชติเธียชัย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กานตพงศ์ จันทร์ทอง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทวีศักดิ์ พลสม โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิชัย อินดีคำ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อประเมินระดับประสบการณ์ทางการเงิน ทักษะทางการเงิน และองค์ประกอบ และ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของระหว่างตัวแปรต้น กับทักษะทางการเงิน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 768 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสมัครใจ ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 - มกราคม 2564 มีขนาดตัวอย่าง 422 คน เครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถาม เรื่องการสำรวจทักษะทางการเงิน ตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2018 ฉบับภาษาไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างตัวแปรต้น และทักษะทางการเงินด้วยการถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ในการประเมินระดับการมีประสบการณ์ทางการเงินภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง การประเมินระดับทักษะทางการเงินและองค์ประกอบ พบว่า ทักษะทางการเงิน ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทักษะทางการเงิน ทั้งหมดอยู่เกณฑ์สูงในทุกด้าน

          ผลการวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างตัวแปรต้น และทักษะทางการเงิน ที่มีอิทธิพล ประกอบด้วย (1) การใช้เหตุผลในการบริโภค (2) การได้รับอิสระในการตัดสินใจในการบริโภค (3) อายุ (4) การมีประสบการณ์ทางการเงินภาพรวม สามารถอธิบายอิทธิพลในการทำนาย ร้อยละ 46.6 อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ .05

References

งานทะเบียนและประเมินผล (2563). จำนวนนักเรียนปีการศึกษา 2563.Retrieved from https://www2.kus.ku.ac.th/WebRegisterKus

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559) รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559. ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย: กรุงเทพฯ.

ณัฐพล เมืองธรรม. (2563) อัพเดทสถิติ E-commerce ครึ่งแรกของปี 2020. Online Retrieved from https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/digital-stat-2020-e-commerce-covid-19-we-are-social/

OECD. (2019A) PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. PISA, OECD Publishing: Paris.

OECD. (2019B) OECD/INFE Report on Financial Education in APEC Economies: Policy and practice in a digital world. PISA, OECD Publishing: Paris.

OECD. (2020) PISA 2018 Result (Volume IV): Are Student Smart about Money?. PISA, OECD Publishing, Paris.

Swiecka B., E. Yesidag, E. Ozen และ S. Grima (2020) Financial Literacy: The Case of Poland.Sustainability. 12(2): 700.

Tang, N and Baker, A. (2016) Self-esteem, financial knowledge and financial behavior. Journal of Economic Psychology. 54, June, 164-176.

Yamane, T. (1973) Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25