ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ เทียนรุ่งรัศมี คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนณิชชญาณ์ ศรีสวัสดิ์ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมของผู้เรียน, เจตคติต่อสาขาวิชาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน, ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้เรียน เจตคติต่อสาขาวิชา คุณภาพการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 2 และ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า F (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ใช้การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของแอล เอส ดี (LSD) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นำเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย

            ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเจตคติต่อสาขาวิชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.25 รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.24 ลำดับต่อมา คือ ปัจจัยด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.03 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ พฤติกรรมของนิสิต มีค่าเฉลี่ย 3.74 ตามลำดับ

            ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านพฤติกรรมของนิสิต และปัจจัยด้านสนับสนุนการจัดการเรียน ส่วนปัจจัยด้านที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตไม่แตกต่างกัน คือ ด้านเจตคติต่อสาขาวิชาและด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และเมื่อทำการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่มีผลการเรียนไม่มีเกรด F นิสิตที่มีเกรด F 1-2 วิชา และนิสิตที่มีเกรด F มากกว่า 2 วิชาขึ้นไป พบว่า ปัจจัยด้านเจตคติต่อสาขาวิชา และด้านปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตทุกกลุ่ม

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2563). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 จาก https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/2012-05-10-07-31-12/vision

กันตพัฒน์ เหล่าวิชารัตน์ และขวัญเมือง โพธิ์ย้อย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5305-5323.

กาญจนา แย้มเสาธง. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(2), 121-129.

กานดา คำมาก และภัทราวรรณ์ สุนทราศรี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

โขมพัฒน์ ประวัง. (2561). ปัจจัยด้านภูมิหลังที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนิสิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยา. jsn Journal, 8(พิเศษ), 1-12.

จริยา ชื่นศิริมงคล, อวยพร เรืองตระกูล และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2554). สังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยด้านเด็กและครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กด้วยเอ็มเอเอสอีเอ็ม. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 24(2), 201-218.

ชนิดา เพ็ชรโรจน์, ญาณภัทร สีหะมงคล และบุษบา จริงบำรุง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดร้อยเอ็ด: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 18(1), 45-54.

ทาริกา วัฒนาสัจจา และจรรยา ชื่นอารมณ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 3(2), 33-42.

ธันยนันท์ ทองบุญตา. (2561). ศึกษาวิธีเผชิญปัญหาทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 203-211.

นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล. (2019). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 7(2), 59-71.

เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย และเอมิกา ศุขโต. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563 http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-research-special-abstract.php?num=65&year=2553

ประวิทย์ ต้องจิตต์เจริญ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ของนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญพร ปุกหุต. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(3), 57-67.

ภิรมย์ พาบุ. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: กรณีศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 16(2), 79-91.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2551). การจัดตั้งส่วนงาน และภาระหน้าที่ของส่วนงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551, เล่ม 125ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2551.

เยาวภา แสนเขียว และสุวิมล ติรกานันท์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร,6(2). 49-60.

ลดาพร ทองสง และถนิมพร พงศานานุรักษ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์: การวิเคราะห์พหุระดับ. วารสารเกื้อการุณย์, 20(1), 55-71.

วิลาวรรณ จตุเทน และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(ฉบับพิเศษ), 194-206.

สินีนาฎ หงส์ระนัย และนิรามัย อุสาหะ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต. วารสารวิจัย มสด., 8(2), 77-89.

สุจิตรา สุคนธมัต. (2555). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ ลาดกระบัง, 21(2), 17-35.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรนุช ศรีคำ, ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์ และสุชาติ หอมจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 จากระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU. http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1495?show=full

อภิญญา ยะนะโชติ, สมบัติ ท้ายเรือคภ และมนตรี ทองมูล. (2559). การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวนการคิดวิเคราะห์ เจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาโดยการใช้สื่อประสมและเกมประกอบการสอน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5, วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(ฉบับพิเศษ), 384-395.

Zhou Xiaoyan, คุณวุฒิ คนฉลาด และสิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตจีนวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 34-46.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Somative Evaluation of Student Learning.New York: McGraw-Hill Book Co.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Learrning. New York: McGraw-Hill Book Co.

Krejcie, R.V.,and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Psycholological measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1961). New Patterns of Mangement. New York: McGraw-Hill Book Company.

McClelland, D. A. V. I. D. (2005). Achievement motivation theory. Organizational behavior: Essential theories of motivation and leadership, 46-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22