การศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ประวัติศาสตร์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ตำบลบ้านใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคนในชุมชนของตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1) ศึกษาวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนในชุมชนตำบลบ้านใหม่ และ 3) วิเคราะห์ทรัพยากรที่เป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนท้องถิ่น สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจดบันทึกจากการลงพื้นที่สำรวจด้วยตนเองและทำเวทีชาวบ้าน (PAR) และสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนในตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลงานวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคนในชุมชน พบว่าชุมชนก่อตั้งโดยชาวไทยเชื้อสายมอญ มีศิลปินแห่งชาติด้านศิลปะร่วมสมัย วิถีชีวิตส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม ภูมิปัญญาของคนในชุมชนมีชื่อเสียงการรวมกลุ่มอาชีพและอาหารพื้นถิ่น เช่น กลุ่มแปรรูปจากการเลี้ยงปลา (ปลาเค็ม และปลาตากแห้ง) ในหมู่ 4 และผลไม้ละมุดที่มีชื่อเสียงอันดับ1 ของมหาราช ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาโดยวิธีการตัดต้นละมุด ให้เหลือแต่ตอแล้วให้แตกยอดขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะทำให้ต้นละมุดมีความแข็งแรงแตกกิ่งก้าน มีอายุหนุ่มสาวเหมาะแก่การออกลูกทำให้ได้ผลละมุดที่มีรสชาติ หวานกรอบอร่อย และมีทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คืออุทยานมหาราชหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพของชาวบ้านในตำบลบ้านใหม่และบุคคลที่สนใจทั่วไป มีการจัดงานเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5
References
กันทนา แก้วศรี, 2553, การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเพณีออกหว้า และประเพณีแห่เทียนเหง ของ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหjงชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
กันทิมา จินโต, 2550, ศักยภาพของชุมชนย่านคลองดำเนินสะดวกในการจัดการการท่องเที่ยว แบบสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (Home stay). หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวางแผนและการจัดการ การท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษสิ่งแวดลอม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กฤษดา ขุ่ยอาภัย, 2552, การศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษาบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พจนา ชัชวาล, 2551, การจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุชาดา งวงชัยภูมิ, 2551, การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวัฒน์ นิลดำ, 2551, การศึกษาวิสาหกิจชุมชน ร้านจำหน่ายสินค้า ศูนย์บริการทางหลวงเขาโพธิ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.