พรหมวิหาร 4 : กับการบริหารงานบุคคลในองค์กร

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ อนุพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระครูสิริธรรมาภิรัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

พรหมวิหาร 4, การบริหาร, งานบุคคล

บทคัดย่อ

การบริหารงานบุคคลเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากในองค์กร เพราะคนคือองค์รวมของความซับซ้อนผู้บริหารจะต้องใช้ศาสตร์คือความรู้ และศิลป์คือทักษะหรือศิลปะในการสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในด้านต่างๆ ดังนั้น การบริหารงานบุคคลผู้บริหารจะต้องนําหลักพรหมวิหาร 4 มายึดถือเป็นแนวทางในการบริหาร ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นํามาปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของสังคม เริ่มตั้งแต่การวางแผน การคัดเลือกคน การประเมินผลการปฏิบัติงาน จนกระทั่งการให้พ้นสภาพจากองค์กร ซึ่งผู้บริหารนอกจากจะมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบริหารงานแล้ว ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ และมีจริยธรรมที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ถือเป็นคุณสมบัติอันสำคัญที่จะเป็นส่วนเสริมให้ผู้บริหารนั้นสามารถครองตน ครองคน และครองงานได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มาเป็นหลักธรรมในการบริหารคน ซึ่งคุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้ นับได้ว่าผู้เป็นคุณธรรมของ "ผู้ใหญ่" หรือ "ผู้ปกครอง" อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี

References

จงศักดิ์ ผดุงทรัพย์ , (2551). “กลไกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของตุลาการ”, การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฎกานต์ หงษ์กุลเศรษฐ์ วินัย ภูมิสุข , (2562) , การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร., บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ , 7 (3).

มณเฑียร แก้วจิตร. (24 เมษายน 2564). หลักการจัดการ. เข้าถึงได้จาก หลักการจัดการ: https://sites.google.com/site/managementmeaningwebsite/

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.

พลเดช นามวงศ์ , (19 เมษายน 2564). การบริหารโดยวัตถุประสงค์ , เข้าถึงได้จากhttp://www.gotoknow.org/posts/340024,

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน , เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน , นลินณัฐ ดีสวัสดิ์ (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์การโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,11(26).

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2543). รวมธรรมะ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง: กรุงเทพฯ.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2556). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สมคิด.บางโม. (2546). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมเกียรติ.พ่วงรอด. (2544). การบริหารงานบุคคล. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เสกมนต์.สัมมาเพ็ชร์. (2559). ทรัพยากรการบริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบําบัดพิเศษกลาง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

อำนวย.แสงสว่าง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิพัฒน์การพิมพ์.

อุทิศ การเพียร, (2558) “การบริหารบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ในทัศนะของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25