การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักภาวนา 4
คำสำคัญ:
การพัฒนาเด็กปฐมวัย, ภาวนา 4บทคัดย่อ
การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักภาวนา 4 อันประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา เป็นการพัฒนาอย่างครบองค์รวม เป็นการฝึก การปลูกฝัง การบ่มเพาะ ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีครบทุกด้าน คือ ให้ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพพื้นฐาน ก็คือ ปัจจัย 4 อย่างถูกต้อง และสามารถใช้อารมณ์ ควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอด แก้ไขปัญหาได้ตามวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดประสบการณ์ ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ดูแลเด็ก ต้องเป็นต้นแบบในการเรียนรู้และส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็ก 3 - 6 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จินดา น้าเจริญ และอภิญญา มนูญศิลป์ (2562). ครูปฐมวัยกับการพัฒนาเด็กตามศาสตร์พระราชา.วารสารวิชาการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาวคม.
นันทิยา น้อยจันทร์. (2548). พัฒนาการเด็กปฐมวัย. นครปฐม: นิตินัย จํากัด.
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). จากใจในบ้านสู่ความเกษมศานติ์ทั่วสังคม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเซนจูรีจำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต).(2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมหานคร:บริษัทธรรมสภา บันลือ จำกัด.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. หน้า 5 เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก 30 เมษายน 2562.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต).(2564).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมหานคร:บริษัทธรรมสภาบันลือ จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.