กลยุทธ์การจัดการที่สำคัญของมัณฑนากรมืออาชีพ

ผู้แต่ง

  • ขัตติพงษ์ ด้วงสำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การจัดการ, มัณฑนากรมืออาชีพ

บทคัดย่อ

การคิด เชิงนักออกแบบ (Design Thinking) เป็นกลยุทธ์การจัดการที่สำคัญสำหรับมัณฑนากรมืออาชีพ ในการส่งเสริมศักยภาพในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นไปได้ ยั่งยืน นำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในอนาคตการทำงาน โดยมีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จ คือ ทีมงานที่มาจากหลากหลายสาขาความรู้ กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ พื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาแนวความคิด ลูกค้าพึงพอใจ ประทับใจในผลงานที่ตรงตามความต้องการของตนอย่างแท้จริง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง 2) การกลั่นกรอง ตีกรอบข้อมูลความเข้าใจในเชิงลึก 3) การระดมและพัฒนาแนวคิด ให้หลากหลายที่สุด 4) การสร้างต้นแบบ เพื่อค้นหาวิธีการที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาและ 5) การนำต้นแบบไปทดลอง และรับข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการคิด เชิงนักออกแบบ ทำให้มัณฑนากร ได้ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน มีทางเลือกที่หลากหลาย มีตัวเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ มีแผนสำรองในการแก้ปัญหา และรวมทั้งทำให้องค์กรของตนมีการทำงานอย่างเป็นระบบ

References

โกรันยา อภิศรธสมบัติ. (18 เมษายน 2561). สรุปความหมาย วิธีการ และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ DesignThinking. ที่มา: https://medium.com/

พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

วรรณยศ บุญเพิ่ม และ ไตรรัตน์ สิทธิทูล. (2559). กลยุทธ์การออกแบบเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจ:กรณีศึกษา

คณะผู้บริหารและเจ้าของกิจการในธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (8) ก.ค. - ธ.ค. 59; 146-147.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรินทิพย์ กาญจนธนชัย. (2562). กลยุทธ์การจัดการโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อ.เอก. (2550).มัณฑนากรมืออาชีพ. วันพุธ ที่ 19 ธันวาคม 2550 ที่มา:http://www.oknation.net/blog/u-sabuy/2007/12/19/entry-1/comment

เอกจิตต์ จึงเจริญ. (2553). “กลยุทธ์บริหารการออกแบบ”สู่ความสำเร็จของธุรกิจยุคใหม่.วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม - ธันวาคม 2553.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review.

Council, D. (2011). Design for innovation.

Fisk, P. (2011). Creative Genius: John Wiley & Sons.

HR NOTE Thailand. (2562). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้องค์กร.ที่มาhttps://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking.

Kolko, J. (2014). Well-Designed: How to use Empathy to Create Products People Love: Harvard Business Review Press.

Leavy, B. (2010). Masterclass: how innovation in ‘‘product language’’ can overturn markets the power of emotion-focused design. STRATEGY & LEADERSHIP, 38(2), 30-36. doi: 10.1108/10878571011029037

Ries, E. (2011). The Lean Startup: How Today’s Entreprenurs Use Continuous Innovation toCreate Radically Sucessful Businesses: Crown Business.

Micheli, P. (2014). Leading Business by Design. Great Britain: Warwick Business School and Design Council.

Verganti, R. (2009). Design-driven Innovation:Changing the Rules of Competition by Radically Innovating what Things Mean: Harvard Business Press.WhiteTofu–applicadthai. คิด... อย่างนักออกแบบ - Design Thinking. ที่มา: https://www.wynnsoftstudio.com

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25