การคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
การคิดแบบพัฒนา, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, จังหวัดภาคเหนือตอนบนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาการคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 4) เพื่อศึกษาการคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 370 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดตามตารางทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความเชื่อมั่น 95 % ต่อจากนั้นทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ต แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับการคิดแบบพัฒนาเท่ากับ 0.82 และการบริหารการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ0.85 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่าย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยปรากฏ ดังนี้
1.ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านการพัฒนาองค์กร 3) ด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) ด้านการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร ตามลำดับ
- ระดับการคิดแบบพั ฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ 2) ด้านการเปิดใจ 3) ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ 4) ด้านการบริหารนอกกรอบ และ 5) ด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามลำดับ
- 3. การคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างมีนัยสำคัญท่างสถิติที่ 05
- การคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างมีนัยสำคัญท่างสถิติที่ 0.05 โดยด้านที่มีค่าพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ รองลงมา ด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้านการเปิดใจ และด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ตามลำดับ ส่วนด้านการบริหารนอกกรอบไม่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง การคิดแบบพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกันพยากรณ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้ร้อยละ 81.23
References
กนกพร โพธิมณี. (2562). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
นวพันธ์ ปิยะวรรณกร. (2560). แปลของ Braian Tracy กลวิธีเด็ดๆสร้างความสำเร็จให้ตนเอง. กรุงเทพฯ : ทัช พับลิเคชั่น.
ปภาวดี ประจักษ์ศุภนิติ. (2554). เอกสารประกอบการสอน ชุดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
วิลาวัลย์ อ้นมาก. (2557). การศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ.2556 – 2570. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th › Plan13 › Doc.
Adler, J. (2021). The Open Mind: A Phenomenology, Open Journal of Philosophy, 11(2),249-291.
Capozzi, Rick. (2017). The Growth Mindset : Leadership Makes a Difference in Wealth Management. New York : Wiley & Sons.
Eckerwall, Anna & Karlsson, Caroline. (2021). Fostering a Growth Mindset in Organizations A qualitative study of factors and challenges in fostering a growth mindset in organizations. Retrieved from https://www.skillsfoster.com/ps/mindsets.html.
French, R. P., II. (2016). The fuzziness of mindsets: Divergent conceptualizations and characterizations of mindset theory and praxis. International Journal of Organizational Analysis, 24(4), 673–691.
French, II, Robert, P. & Chang, Heewon. (2016). Conceptual re-imagining of global “Mindset” Knowledge as prime in the development of global leaders. Journal of International Organizations Studies. 7 (1), 49–62.
Fullan, Michael. (2001). Leading in a Culture of Change. San Francisco : Jossey-Bass.
Gayef, Albena. (2014). The Management of Change In Education. Journal of International Scientific. 2 (12), 23-30.
Graetz, Fiona; & Smith, Aaron. (2005). Organizing Forms in Change Management: The Role of Structures, Processes and Boundaries in a Longitudinal Case Analysis. Journal of Change Management 5(3), 311-328.
Hope, Joan. (2022). Adopt an abundance mindset to boost your leadership potential. Disability Compliance for Higher Education, 27 (6), 8-16.
Hussein, Hinda. (2018).Examining the Effects of Reflective Journals on students Growth
Javidan, M., & Walker, J. L. (2013). Developing your global mindset: The handbook for successful global leaders. Edina, MN: Beaver's Pond Press.
Joshi, P.l. (2021). Change Management and Management of Mindset. Retrieved from http//change management.or.th.
Keown , S. R., & Bourke, B. (2019). A Qualitative Investigation of Fixed Versus Growth Mindsets of Third and Fourth Grade Students. Education, 140(2), 51–58.
Kouzes, James M. & Posner, Z. Barry.(2007). The Leadership Challenge. San Francisco : Jossey Basss.
Lutchman, Chitram; Evans, Douglas; Ghanem, Waddah & Maharaj Rohanie. (2015). 7 Fundamentals of an Operationally Excellent Management System. New York: Taylor & Francis Group.
Manu, Melwin Joy. (2019). Growth Mindsets and Leadership. Retrieved from https://www.researchgate.net › publication
Mattone, John. (2013). Talent Leadership. New York : Amacom.
Morgan, M. Misti. (2008). The Six Secrets of Change at Work: A Case for the Use of Fullan’s Work in School Setting. Dissertation, Ph.D. Educational Leadership. Texas: The Whitlowe R. Green College.
Patrick, Susan Kemper; Joshi, Ela. (2019). Set in Stone or Willing to Grow? Teacher sensemaking during a growth mindset initiative. Teaching and Teacher Education, 8(3), 156–167.
Pryor, M.G.; Taneja, S.; Humphreys, J.; Anderson, D. & Singleton, L. P. (2008). Challenges Facing Change Management Yheories and Research. Delhi Business Review, 9(1), 9-13.
Rhew, Emily; Piro, Jody S.; Goolkasian, Pauline & Cosentino, Patricia. (2018). The effects of a growth mindset on self-efficacy and motivation Cogent Education. 5 (1),66-78.
Rothwell, William J.; Stavros, Jacqueline M.; Sullivan, Rolandl; & Sullivan, Arielle. (2010). Practicing Organization Development a Guide for Leading Change. San Francisco : Pfeiffer An Imprint of Wiley.
Ryan, Gottfredson & Chris, Reina. (2020). To Be a Great Leader, You Need the Right Mindset. Leadership And Managing People. 17(3),114-123.
Scheurich, James Joseph & Skrla, Linda. (2003). Leadership for Equality and Excellence. California : Corwin Press.
Seaton, Fiona S. (2018). Empowering teachers to implement a growth mindset. Educational Psychology in Practice, 34 (1),41–57.
Soo, Jeoung,Han & Vicki, Stieha. (2021). Growth Mindset for Human Resource Development: A Scoping Review of the Liter view of the Literature with Recommended Inter with Recommended Interventions. Department of Organizational Performance and Workplace Learning Collections: Boise State University.
Waner,Tony ;Kegan, Robert & Lahey, Lisa. (2006). Change Leadership: A Practical Guide to Transforming Our School. San Francisco : Jossey-Bass.