วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทย: แนวทางพัฒนาผู้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • คชา ปราณีตพลกรัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระจักรพัชร์ จกฺกภทฺโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • รัชนีฉาย เฉยรอด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • บัญชา ธรรมบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • พระมหาภาณุวัฒน์ อมรกวี นักวิชาอิสระ

คำสำคัญ:

วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้, หลักการใช้ภาษาไทย, การลงมือปฏิบัติ

บทคัดย่อ

หลักการใช้ภาษาไทยเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาไทยเพราะเมื่อเข้าใจแบบแผน และกฎเกณฑ์ทางภาษาแล้ว ก็จะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ทำให้สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ผู้เรียนต้องหลักการใช้ภาษาไทย ซึ่งครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนหลักการใช้ภาษาไทย โดยกิจกรรมดังกล่าวต้องพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการ ตลอดจนคุณลักษณะและเจตคติที่ดีในการเรียนหลักการใช้ภาษาไทย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยจะบรรลุวัตถุประสงค์ ครูจะต้องมีนวัตกรรมทางการสอนที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบการสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ตลอดจนสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จริง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวทางในการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่พัฒนาผู้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย 2) กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 3) วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) 4) รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้

References

กำชัย ทองหล่อ. (2552). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรกัญญา ราชพลสิทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน(การสอนภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2550). “ผลของการใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยและความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชนกานต์ เปรมพัฒนพันธ์. (2553). “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การใช้ประโยคเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวลิต ชูกําแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: ทีคิวพี.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

เนาวรัตน์ วิลาวรรณ์. (2560). วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) ของครูเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2544). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

รุ่งโรจน์ ถิรปุญฺโญ และคณะ. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 8, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565): 123.

ศิราณี สนั่นเอื้อ. (2562). การพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง การอ่าน เขียน วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2, 6 (กันยายน-ธันวาคม 2562): 45.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนของครูต้นแบบ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542). กรุงเทพฯ: ฮาซนั พริ้นติ้ง.

Joseph, L. (2023). Learning by doing. Retrieved January 08, 2024, from https://lemonlearning.com/blog/glossary-learning-by-doing

Team, T, L. (2023). Learning by doing รูปแบบการเรียนรู้ที่ให้เด็ก ๆ มีความสุขจากการลงมือทำ. Retrieved January 08, 2024, from https://www.lingoace.com/th/blog/learning-by-doing.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25