การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนอนุบาล 2 โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา

ผู้แต่ง

  • พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วิไลรัตน์ จุลเดช โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา
  • รักษ์ทวี เถาโต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม, การวิจัยเป็นฐาน, นักเรียนอนุบาล 2

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของคุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของเด็กระดับปฐมวัยจากผลการวิจัย 2) เปรียบเทียบผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของเด็กอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมที่ได้จากการสังเคราะห์ผลการวิจัย การศึกษาเป็น 2 ระยะ ระยะแรกกลุ่มเป้าหมายคืองานวิจัยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2565 จำนวน 10 เรื่อง ในฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ระยะที่สอง กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 27 คน โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หนังสือนิทานประกอบภาพส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 3 เรื่อง ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี ความมีน้ำใจ จิตอาสา แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรม แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จำนวน 15 แผน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความก้าวหน้า แปลผลและสรุปผลบรรยายใต้ตาราง

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิจัยส่วนใหญ่ใช้กิจกรรมการเล่านิทานเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย และมุ่งศึกษาคุณธรรม จริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคี และความมีน้ำใจ จิตอาสา
  2. การทดลองจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบภาพให้กับเด็กอนุบาลปีที่ 2 และมีการสังเกตบันทึกพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคี และความมีน้ำใจ จิตอาสา หลังการทดลองจัดกิจกรรมเด็กมีการแสดงพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคี และความมีน้ำใจ จิตอาสา เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 21.30

References

กัลยา สร้อยสิงห์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาทางด้านอุตสาหกรรมบริการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 381–396.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะสมอง-อีเอฟ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

จริดา จ่าพิมาย. (2561). การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านความขยัน สาหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง ขนมปังแสนอร่อยของแม่ไก่แดง [โครงงานนักศึกษาส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

จุไรรัตน์ วงศ์ไชย. (2565). ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัย ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเจน (เจนจันทรานุกูล) [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

แจ่มละมัย โจระสา. (2560). การปฏิบัติการพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันท์นภัส มงคลสังข์. (2564). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูน แอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี). วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 40–59.

โนรียะ สะมะแอ. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านยะกัง) อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(6), 119–131.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). หลักและเทคนิคการสอนในระดับอุดมศึกษา. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ปันวัง, จารุณี มณีกุล และ ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานคุณธรรมเป็นสื่อเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 253–270.

ศุภวัฒน์ บุญนาดี, นนทชนนปภพ ปาลินทร, คตศิลป์ อกอุ่น และพรรณวดี เสงี่ยมศักดิ์. (2564). ผลการจัดกิจกรรมเล่านิทานคุณธรรมที่มีต่อพฤติกรรมการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 113–122.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริรัตนา มุงคุณโคตร และทัศนีย์ นาคุณทรง. (2565). การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองเพื่อส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(1), 99–111.

สุรารักษ์ แก้วชะมอญ. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการเสริมแรงบวกผ่านการเล่านิทานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กระดับชั้นปฐมวัย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 136–149.

เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน Education in the New Paradigm: Research-based Learning. Executive Journal, 31(3), 26–30.

อนุวัฒน์ เปพาทย์. (2565). การออกแบบนิทานแอนิเมชันส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็ก เรื่อง ชาวนาผู้ซื่อสัตย์. Industrial Technology Journal, 7(1), 46–57.

อรอนงค์ หมิกพิมล. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมการอยู่ร่วมกันของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะแดะแจะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการศึกษาปฐมวัยสำหรับผู้ประเมินภายนอก. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อัมรินทร์ แย้มเพ็ง, ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ, สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2563). ผลการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร. วารสารบัณฑิตวิจัย, 11(3), 67–79.

อาฟีฟี ลาเต๊ะ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสถิติและทักษะการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 120–132.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25