การคัดลอกผลงานทางวิชาการ จริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญ

ผู้แต่ง

  • พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • มงคล สารินทร์ คณะคึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การคัดลอกผลงานทางวิชาการ, ความซื่อสัตย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอความสำคัญของการส่งเสริมจริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญ เรื่อง ความซื่อสัตย์ในการเขียนผลงานทางวิชาการ เพื่อป้องปรามการคัดลอกผลงานทางวิชาการ หรือการคัดลอกวรรณกรรมของนักศึกษา นักวิชาการ และเสนอแนวทางหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานทางวิชาการเชิงระบบ ความซื่อสัตย์ถือเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนักเขียนงานวิชาการ การเคารพ การให้ความสำคัญในลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น ผลของการคัดลอกผลงานทางวิชาการก่อให้เกิดความเสียหายหลากหลายด้าน ทั้งต่อตนเองซึ่งมีผลผูกพันกับข้อกฎหมาย ต่อวงการวิชาการ ทำให้งานด้านวิชาการถดถอย ล้าหลัง หรืออยู่กับที่ ไม่มีการพัฒนาแนวคิด วิธีการ กระบวนการใหม่ ๆ หรือต่อยอดผลงานเดิมที่มีอยู่ให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ดีกว่าเดิม จากการศึกษาการคัดลอกผลงานทางวิชาการมีการเปิดเผยในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น อาทิ การคัดลอกทฤษฏี แนวคิด การคัดลอกโดยไม่มีแหล่งที่มาข้อมูล หรือการคัดลอกผลงานโดยบรรณาธิการวารสาร เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะการคัดลอกนามธรรม ทำให้การคาดหวังจากผลการตรวจสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องอาศัยผู้อ่านผลงานตรวจสอบอีกระดับ สำหรับแนวทางการหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานทางวิชาการมีสามแนวทาง ต้นทางเป็นการส่งเสริมจริยธรรมด้าน ความซื่อสัตย์สำหรับการเขียนผลงานทางวิชาการ กลางทางโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ เป็นพี่เลี้ยงหรือผู้เชี่ยวชาญในการอ่านผลงาน และให้ข้อแนะนำในการเขียนก่อนที่จะเผยแพร่ผลงาน ส่วนปลายทางเป็นการกำหนดเงื่อนไข หรือบทลงโทษสำหรับผู้ที่คัดลอกผลงานทางวิชาการ

References

จิราภา วิทยาภิรักษ์. (2555). บทความปริทัศน การลอกเลียนงานวิชาการและวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism). วารสารครุศาสตรอุตสาหกรรม, 11(3).

ทิวนภา ศิริพรหม, และสมฤดี คงพุฒ. (2560). กลวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการคัดลอกงานเขียนทางวิชาการ: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 47-60.

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). Plagiarism สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ การคัดลอกผลงานวิจัย ประเด็นสำคัญที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์. (2537, 21 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 111 ตอนที่. 59ก หน้า 1-28.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2). (2558, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนที่. 6ก หน้า 7-13.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3). (2558, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนที่. 6ก หน้า 14-16.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 4). (2561, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่. 92ก หน้า 7-13.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2561). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย,ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

Cohen, J. (2013). Preventing Plagiarism. American Psychological Association, 44(10), 57. Retrieved from http://www.apa.org/monitor/2013/11/plagiarism.aspx

Demirdover, C. (2019). The plagiarism. Turkish Journal of Plastic Surgery, 27(1), 1. doi: 10.4103/1300-6878.249406

Hengki Wijaya, และKara Elizabeth Gruber. (2018). Ethics perspective and regulation of plagiarism in Higher Education. International Journal of Humanities and Innovation (IJHI), 1(1), 17-25. doi: 10.33750/ijhi.v1i1.4

Kunschak, C. (2018). Multiple uses of anti-plagiarism software. The Asian Journal of Applied Linguistics, 5(1), 60-69.

MacLennan, H. (2018). Student Perceptions of Plagiarism Avoidance Competencies: An Action Research Case Study. Journal of the Scholarship of Teaching and Learning, 18(1), 58-74. doi: 10.14434/josotl.v18i1.22350

Manjet Kaur Mehar Singh, และMalini Ganapathy. (2018). Understanding Plagiarism from the Lens of First Year Tertiary Level Students. Pertanika J. Soc. Sci. & Hum., 26(T), 159-177.

Roig, M. (2015). Avoiding plagiarism, self plagiarism, and other questionable writing practices: a guide to ethical writing. Office of Research Integrity Publication. https://ori.hhs.gov/sites/default/files/plagiarism.pdf

Roka, Y. B. (2017). Plagiarism: Types, Causes and How to Avoid This Worldwide Problem. Nepal Journal of Neuroscience, 14(3), 2-6.

Roman, A. G. (2018). Minimizing Plagiarism Incidence in Research Writing in One State University in the Philippines. Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 1(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-12

How to Cite

ศรีทิพันธุ์ พ., & สารินทร์ ม. (2024). การคัดลอกผลงานทางวิชาการ จริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญ. ศึกษาศาสตร์ มมร, 12(1), 289–298. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/278568