ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ เทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุรศักดิ์ รุจิธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธิติวุฒิ หมั่นมี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ และปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะของการบริหารจัดการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการโดยสำรวจ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง 381 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.542 2. ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารกับการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยภาพรวม กับประสิทธิภาพการบริหาร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง หลักพุทธธรรมอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม กับประสิทธิภาพการบริหาร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ระยะเวลาและระบบการบริหารบางขั้นตอนมากเกินไป เจ้าหน้าที่ขาดความกระตือรือร้น ประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง ให้ลดขั้นตอน เพิ่มการแนะนำแนวทางในการรับเบี้ยยังชีพ เพิ่มการจัดฝึกอบรมให้ความรู้พนักงาน มีการหมุนเวียนสถานที่ มีการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายช่องทาง ควรเพิ่มช่องทางในการขึ้นทะเบียนสำหรับผู้สูงอายุ

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กรองกาญจน์ พฤฒิพฤกษ์. (2555). อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารและพนักงานที่มีผลต่อความสำเร็จในการ ดำเนินกิจการ กรณีศึกษา: บริษัท สตาร์มาร์คแมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). โครงการประเมินผลการจ่ายเงิน สงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: เพ็ญวานิสย์.

นิพนธ์ โอภาษี. (2557). การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พูนสุข ภูสุข. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มงคล กุญชรินทร์. (2556). การพัฒนางานด้านสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สกล ชื่นกระโทก และรัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์. (2558). การดำเนินงานสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สำนักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง.(2563). ข้อมูลเทศบาลเมืองบางบัวทอง. สืบค้น 4 กันยายน 2563, จาก https://buathongcity.go.th/

สุข บุปผา และนวภัทร โตสุวรรณ. (2563). ประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลําปาง. สืบค้น 4 กันยายน 2563, http://101.109.41.140/tak/northern/new_web/conference/files/journal/J6.pdf

อนุชาติ มาแก้ว. (2556). รูปแบบการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุในเขต ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane. t. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed.. Time Printers Sdn. Bnd. Singapore. 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite