การบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐ ชีวะประไพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธิติวุฒิ หมั่นมี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พลังงานทางเลือก, ขยะ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยอิทธิบาท 4 กับการบริหารจัดการขยะ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า 1.ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36, S.D. =0.420) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง (R=0.501**) กับการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3. ปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการโดยใช้พลังงานทางเลือกในขณะนี้คือสภาพทางด้านศักยภาพเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การพาณิชย์เพื่อส่งเสริมอาชีพ ปัญหาการเลี้ยงสัตว์จะมีของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น มูลสัตว์ และน้ำเสียจากคอกสัตว์ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะต่อสภาพแวดล้อม และมีผลกระทบต่อสุขอนามัยของคนในชุมชน นอกเหนือจากสามารถรักษาสภาพแวดล้อมแล้ว ยังเป็นแหล่งพลังงานทดแทน  หากชุมชนใดมีมีทรัพยากรอย่างเพียงพอสำหรับการแปรรูปเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ได้

References

กระทรวงมหาดไทย. (2560). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือวิชาการอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2553 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2555). การใช้ประโยชน์และการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนประชาชนตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

จินตนา เปียสวน. (2558). ความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติตัวของแม่บ้านเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในแฟลตข้าราชการกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วสันต์ ปินะเต และดวงกมล ดังโพนทาง. (2559) การผลิตเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะชุมชน : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 72-86.

ศิริรัตน์ สังข์สุวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชนจากขยะเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3), 118-132.

ประภาพร แก้วสุกใส. (2559). การศึกษาเพื่อหาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์, (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite