การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาเหมชูวงค์ เหมวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธิติวุฒิ หมั่นมี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การพัฒนาชุมชน, เทศบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการพัฒนาชุมชนระดับปฏิบัติ และปัจจัยพละ 4 มีอิทธิพลร่วมกันต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันได้ถึงร้อยละ 86.60 ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ สังคมมีลักษณะเป็นพหุวัฒนธรรม มีหลายเชื้อชาติศาสนา ประชาชนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาชุมชนได้ทุกคน มีปัญหายาเสพติด ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม แนวทางในการพัฒนา ได้แก่ ควรมีกิจกรรมที่ประชาชนทุกเชื้อชาติศาสนาสามารถร่วมได้ ควรมีช่องทางในการสื่อสาร และเผยแผ่ความรู้ให้กับประชาชน ชุมชนควรร่วมมือกับเทศบาลและวัดต่อต้านยาเสพติด พระสงฆ์ใครเป็นผู้นำด้านจิตใจ และควรสอนการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมแก่ประชาชน

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565). สืบค้น 10 กันยายน 2563, จาก https://plan.cdd.go.th/.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). อำนาจหน้าที่. สืบค้น 10 กันยายน 2563, จาก https://www.cdd.go.th/related-links/บริการภายใน/about-us/service-directory.

กุศล โพธิ์สุวรรณ. (2556). ภาวะผู้นําการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร). (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จุฑามาส ชมผา และคณะ. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(2), 162-171.

ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2556). แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารการพัฒนาเมืองของเทศบาลนครสกลนคร. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(2), 76-96.

ณภัทร ปิณฑรัตน์. (2555). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรตำมหลักพละ 4 ในธุรกิจประกันภัย. (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทศบาลเมืองบางบัวทอง. (2563). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 10 กันยายน 2563, จากhttps://www.buathongcity.go.th/index.php?option=comcontent&view= article&id=88&Itemid=730.

ธีรชัย ชุติมันต์. (2558). รูปแบบการจัดการชุมชนตามแนววิถีพุทธที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระถนอมศักดิ์ อภิคุโณ. (2561). ศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์: กรณีศึกษาตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. พัฒนวารสาร. 5(2), 22.

พระนพพร ญาณสมฺปนฺโน. (2556). การบริหารการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลโพนางดำออก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปริญญา รตนปญฺโญ. (2556). ประสิทธิภาพการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในอำเภอ ประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุชาติ วชิรญฃาโณ ป. (2556). การบริหารงานตามหลักพละ 4 ของวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุรวุฒิ สิริวฑฺฒโก. (2560). การส่งเสริมหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนดีเด่นในจังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศน์. 6(2), 515-526.

พระหมี ถิรจิตฺโต. (2556). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุจิภาส คำแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมคุณธรรม และพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(13), 217-218.

อัศวิน หนูจ้อย. (2559). การพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้. ธรรมทัศน์, 16(2), 23-31.

สุวรีย์ สิริโภคาภิรมณ์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite