การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์อมร ปภากโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การจัดการเรียนการสอน, พระสอนศีลธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนา เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ปัญหา และอุปสรรค คือ พระสอนศีลธรรมขาดเทคนิคการจัดการเรียนการสอน ขาดสื่อการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีน้อย กิจกรรมไม่น่าสนใจ ข้อเสนอแนะ คือ พระสอนศีลธรรมต้องมีใจรักในการสอน มีการทำแผนการจัดการเรียนการสอน การจัดทำสื่อการสอน และควรเพิ่มเวลาในการจัดกิจกรรม เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการทำกิจกรรมและต้องพัฒนากิจกรรมอยู่เสมอ

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระปลัดเวชยันต์ ฐิตสทฺโธ (แววเพ็ชร์). (2557). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวีระศักดิ์ กิตฺติาโณ (แสนณรงค์). (2556). ประสิทธิผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยานุกูล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี.(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรวิทย์ วศินสรากร. (2547). การปรับตนตามวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: สารานุกรมศึกษาศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30

How to Cite