พุทธภาวะผู้นำเชิงทศบารมีเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ทศบารมี, การบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรบทคัดย่อ
ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้นำในการบริหารองค์กรต่าง ๆ ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งจากปัจจัยภายนอกองค์กร และปัจจัยภายในองค์กร ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง บทบาทของผู้นำในกระบวนการเปลี่ยนแปลงจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ และมีบารมีที่จะนำพาการเปลี่ยนแปลงนั้นให้เป็นไปด้วยความราบรื่น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย พุทธภาวะผู้นำเชิงทศบารมี เป็นการประยุกต์หลักธรรมของบารมี 10 ประการที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญมาเพื่อการบรรลุพระโพธิญาณ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งในพุทธกัปนี้ ภาวะผู้นำเชิงทศบารมีสามารถนำมาใช้เป็นหลักในด้านการนำตนด้วยศีลบารมี เนกขัมมบารมี วิริยบารมี และสัจจบารมี ด้านการนำคน ด้วยทานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี และด้านการนำงานด้วยปัญญาบารมี ขันติบารมี และอธิษฐานบารมี
References
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
________. (2547). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2555). ทศบารมีทศพิธราชธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
_________. (2540). สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก พระกรณียกิจ พระเกียรติคุณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). การบริหารการเปลี่ยนแปลง คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้น 8 มิถุนายน 2560, จากก http://www.opdc.go.th
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม). (2542). พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
อุดม ชัยสุวรรณและคณะ. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยบารมี 10 ทัศในพระพุทธศาสนาเถรวาท. รมยสาร, 13(1), 55-58.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น