พุทธบูรณาการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, พุทธบูรณาการบทคัดย่อ
ในสภาวะสังคมปัจจุบัน เป็นสังคมผู้สูงอายุและสภาวะในเมืองเต็มไปด้วยมลพิษ ทำให้สังคมหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การพักผ่อนหย่อนใจไปยังสถานที่ต่างๆ ตามแหล่งธรรมชาติที่มีความสวยสดงดงาม ผสมผสานการดูแลสุขภาพ จึงเป็นที่มาของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือว่าเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน พัฒนาเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทิศทางของทั่วโลกก็หันมาสนใจ รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้นทุกๆปี จากการศึกษาพบว่า มีจำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อมารับบริการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 1.2 ล้านคนต่อปี รายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปี 2560 ที่ผ่านมา ได้ประมาณการรายได้การท่องเที่ยวเชิงแพทย์ไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวผู้คนให้ความสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น สอดคล้องกับสังคมปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุ ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น จึงนับเป็นโอกาสดีของประเทศไทย ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม รวมถึงรูปแบบการรักษาแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้คนหัน นิยมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้หลักพุทธธรรมหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องภาวนา 4 ได้แก่ 1) กายภาวนา 2) สีลภาวนา 3) จิตภาวนา 4) ปัญญาภาวนา ช่วยสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตที่ดีงามเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน
References
พระราเชนทร์ วิสารโท. (2542). บูรณาการพุทธธรรมกับระบบการดูแลสุขภาพระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อนุรุธ ว่องวานิช. (2563). การดำเนินธุรกิจ แนวพุทธบูรณาการ. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http.//www.dsdw2016.dsdw.go.th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น