ผู้สูงอายุ : ดูแลอย่างไรให้แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ประยูร เจนตระกูลโรจน์ โรงพยาบาลผิวหนังอโศก

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พุทธธรรม, ภาวนา 4

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มุ่งนำเสนอการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในปัจจุบัน เป็นสมัยที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและมีสถิติว่าจะมีอายุยืนมากขึ้น ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะผลความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขที่มีพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคลและสภาพแวดล้อม ย่อมทำให้แต่ละบุคคลมีสภาพร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน ความพยายามที่จะปรับตัวและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ สามารถสังเคราะห์ด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ให้พิจารณาธาตุ 4 ขันธ์ 5 ส่งเสริมให้พิจารณาดูแลสุขภาพร่างกายและยังเชื่อมต่อถึงหลักไตรสิกขาและภาวนา 4 อันเป็นหลักธรรมเพื่อพัฒนามนุษย์ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม เสริมสร้างให้มีความรู้ความเข้าใจในสภาวะแห่งความเป็นจริงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้สูงวัยสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัย มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยลดปัญหาของผู้สูงอายุเอง ของครอบครัว และของสังคม อันจะส่งผลให้เกิดการยอมรับกับความจริงได้อย่างมีความสุข

Author Biography

ประยูร เจนตระกูลโรจน์, โรงพยาบาลผิวหนังอโศก

 

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม : ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

________. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น (แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: ธรรมอินเทรนด์.

พุทธทาสภิกขุ. (2535). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สุขาภิบาล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (พ.ศ. 2542) พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นานมี.

Yodpet, S. (2006). I will not be afraid if (social) preparation. National Health Foundation Newsletter, (2) March - April, 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite