การนำหลักพุทธธรรมมาปลูกฝังให้กับต้นกล้าที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ

ผู้แต่ง

  •  ณัฐกานต์ บุญแนบ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

บทคัดย่อ

           ประเทศไทยจะต้องพัฒนาเยาวชนตั้งแต่ยังเป็นต้นกล้าที่เป็นอนาคตของชาติ ให้เป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เยาวชนซึ่งเป็น คนรุ่นใหม่ที่สนุกกับการเรียนรู้ สามารถรับรู้ได้เร็ว ระบบการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นการปลูกฝังให้ต้นกล้าซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ ไม่เพียงแต่ศึกษาในห้องเรียนเท่านั้น จะต้องเรียนรู้จากโลกภายนอก รวมทั้งประสบการณ์ชีวิตที่ได้สัมผัสกับตัวเอง หน่วยงานภาครัฐจำเป็นจะต้องปลูกฝังหลักพุทธธรรมให้กับต้นกล้าซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่จะต้องซึมซับในสิ่งดีงาม ความเป็นวัฒนธรรมของชาติ โดยการบรรจุหลักธรรมให้เป็นวิชาเรียนที่เป็นวิชาสร้างเสริมชีวิตอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และจัดให้มาร่วมกิจกรรมภายนอกที่วัดโดยการเรียนรู้ ถ่ายทอดจากพระสงฆ์มีการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับวัดให้ได้ เรียนรู้ ได้ซึมซับ และได้ทำงานเป็นทีม โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น วันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา ให้มาร่วมกิจกรรม และให้ซึมซับหลักธรรมในเบื้องต้น คือ เบญจศีล หรือ ศีล 5 เว้นการฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของมืนเมา เป็นต้น การได้ปลูกฝังสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นกล้าที่เป็นเยาวชนได้เรียนรู้และรับรู้ และได้รับการปลูกฝังในสิ่งที่ดีงาม ที่เป็นสัญลักษณ์การเป็นคนดี

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พรรณพิมล หล่อตระกูล. (2547). บันทึก สสส. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.).

เมธินี คุปพิทยานันท์. (2547). บันทึกบอกอ. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งขาติ (สปรส.).

กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยในด้านทักษะการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite