การกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อ การใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การได้รับความรู้ทางการเมือง, การได้รับข่าวสารทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ และ 3) เพื่อนำเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การกล่อมเกลาทางการเมืองมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไป เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านดังนี้ ด้านทัศนคติแบบประชาธิปไตย อยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ทางการเมือง อยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง อยู่ในระดับมาก ด้านทัศนคติทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการกล่อมเกลาทางการเมือง ด้านการได้รับความรู้ทางการเมือง ประชาชนได้รับความรู้ทางการเมือง หรือข้อมูลข่าวสารทางการเมือง จากเจ้าหน้าที่ของรัฐน้อย การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ประชาชนไม่ค่อยเข้าถึงสื่อได้มากเท่าที่ควร เพิ่มช่องทางการได้รับข่าวสารทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนยังโดนปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง ไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ควรให้ประชาชนได้มีโอกาสในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
References
ณัฐพล พุกประเสริฐ. (2545). การกล่อมเกลาทางการเมืองของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 91-92.
พรรณวดี ขำจริง และเยาวภา ประคองศิลป์. (2553). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน, วารสารศึกษาศาสตร์, 33(4), 103-104.
ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธิ์. (2556). การกล่อมเกลาทางการเมืองในสังคมการเมือง,วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(1), 97-98.
วัฒนา นนทชิต. (2559). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(3), 163-164.
สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำพูน. (2563). สถิติการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส ประจำปี 2562. สืบค้น 4 เมษายน 2563, จาก http:// www.ect.go.th
สุรศักดิ์ กุลเรือง. (2499). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวรรณี นามบุตร. (2554). กระบวนการกล่อมเกลาของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กรณีศึกษาชมรมคนรักอุดร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น