การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสังคหวัตถุ 4

ผู้แต่ง

  • กอปรลาภ อภัยภักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ทรัพยากรมนุษย์, หลักสังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้นำเสนอการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เชื่อมโยงไปถึงความสำเร็จในการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่เบื้องต้นของผู้บริหาร ที่ต้องอาศัยความพยายามและความร่วมมือของบุคลากรในองค์กร เป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างความสัมพันธ์ในหน้าที่การงานระหว่างสมาชิกในองค์กร สนับสนุนความก้าวหน้าของบุคลากร ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาองค์กร ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากร เพื่อให้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน โดยแนวทางปฏิบัติที่สำคัญคือการสนับสนุนในการศึกษา การพัฒนา การฝึกอบรม และการสร้างความเข้าใจอันดีในการอยู่ร่วมกัน อันเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาบุคลากร และบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา เพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร

Author Biography

กอปรลาภ อภัยภักดิ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

References

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และจินตกานด์ สุธรรมดี. (2560). กรอบแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(ฉบับพิเศษ), 168-184.

ชลชาติ พหุโล และวิไลวรรณ วรคามิน. (2564). แนวคิด และทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://so03.tci-thaijo.org.

บุญทัน ดอกไธสง. (2563). AI FOR EXECUTIVE LEADER สำหรับนักบริหารมืออาชีพ. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุษกร วัฒนบุตร. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยพุทธบูรณาการ. วารสาร สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 41(1), 35-48.

ไพโรจน์ ศุภทีปมงคล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนาสู่ระบบการบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001: 2008. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 9(18), 74-87.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชฎา อสิสนธิสกุล. แนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยษสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1), 38-50.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2558). การบริหารจัดการคนเก่งเชิงกลยุทธ์ : ปัจจัยสำคัญสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารรมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(3), 1096-1112.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. HCM: แนวคิดหลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. สืบค้น 23 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.impressionconsult.com.

Nadler, L. & Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. SanFrancisco, California: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite