ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของนักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์มานพ อคฺคมาณโว วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ความสัมพันธ์ และข้อเสนอแนะต่อการสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยในการบริหารจัดการ ตามทฤษฎี POSDC กับแรงจูงใจในการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของนักเรียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันสูง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ปัญหาและอุปสรรค คือ นักเรียนที่มีความสามารถและวัยต่างกัน เรียนในห้องเดียวกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ไม่เท่ากัน ข้อเสนอแนะ คือ เจ้าคณะปกครองระดับ เจ้าคณะจังหวัดขึ้นไปควรมีนโยบายในการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดหานักเรียนเพิ่มเติม

Author Biography

พระครูสังฆรักษ์มานพ อคฺคมาณโว, วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

References

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2539). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์

กิตติสุนทร เตียวัฒนาตระกูล. (2456). ทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนัก

พระครูอนุกูลสุตกิจ. (2561). การศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน) และพระมหาทองดี ปัญฺญาวชิโร. (2548). การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์.

พระธรรมโมลี (2544). สัททนีติสุตตมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทักอักษร.

พระพิพัฒน์ปริยัติสุนทร. (2548). อนุโมทนากถาในนักเรียนวัดเทพลีลากับการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักเรียนวัดเทพลีลา.

พระมหาอุดร อุตฺตโร. (2554). แรงจูงใจของพระภิกษุสามเณรที่มีต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระมหาชลอ ชยสิทฺโธ. (2550). ปัจจัยที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี: ศึกษาเฉพาะกรณี วัดจองคำ ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสรพงษ์ การุญ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี: กรณีศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีวัดตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

แม่กองบาลีสนามหลวง. (2557). เรื่องสอบบาลีของสนามหลวงแผนกบาลี พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2562). สถิติประโยคบาลีสนามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2560–2562. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

สว่าง วงศ์ฟ้าเลื่อน. (2550). การบูรณาการสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์ การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

How to Cite