ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูพัฒนวิสิทธิ์ (สมชาย อญฺชลีโย) วัดสุขวราราม ราชบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ประชาชน, โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชน เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลบ่อกระดาน จำนวน 348 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาอุปสรรค คือ ชาวบ้านไม่มีความรู้ในเรื่องแผนงาน ดังนั้น ควรให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวางแผนแก่ชาวบ้าน และงบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้น ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้เพียงพอกับความจำเป็น

References

ชนิดาภา พรหมิ. (2559). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประสาน เจริญศรี. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา (สายัน จนฺทวํโส). (2553). ศึกษาปัญหาและทางออกของการดื่มสุราที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์. (2561). แนวคิด ตัวชี้วัด องค์ประกอบ บทเรียน และบูรณาการตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอำนาจ ปริมุตฺโต. (2553). ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2552). การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน: กรณีศึกษาเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite