การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของสถาบันครอบครัวใน ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม, เยาวชน, สถาบันครอบครัวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน เปรียบเทียบความคิดเห็น ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของสถาบันครอบครัวในตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลคลองตาคต จำนวน 387 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาอุปสรรค คือ กิจกรรมต่อต้านยาเสพติดมีสัดส่วนน้อยเมื่อกับกิจกรรมอื่น ดังนั้น คณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ และภาคครัวเรือนในพื้นที่ ควรจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น และปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัว ดังนั้น ควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พระครูโกศลกิจจานุการ (ณรงค์ ญาณวีโร). (2554). บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดกุ้ยไฮ้ ชุตินฺธโร. (2554). บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิสุทธิสรคุณ (วิชิต วิชิโต). (2554). บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการสอนคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสมุห์มงคล สิริมงฺคโล. (2555). บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนในอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระชาตรี จกฺกวโร. (2554). บทบาทสถาบันทางสังคมที่มีผลต่อความรู้ด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธัชนนท์ ชยาภินนฺโท. (2553). ศึกษาวิธีการถ่ายทอดหลักพุทธจริยธรรมแก่เยาวชนของสถาบันครอบครัว: ศึกษากรณี ครอบครัวผู้ประกอบอาชีพทำสวนยาง อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล. (2555). บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมจิตร ขนฺติโก. (2554). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยศ ถามูลแสน. (2553). ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาชุมชนต่อศีลธรรมของเยาวชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น เขต 3 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2547). ชีวิตกับครอบครัว. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สมพงษ์ จิตระดับ และอัญญมณี บุญซื่อ. (2551). หลักสูตรสิทธิเด็กและการวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด.
สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น