รูปแบบการบริหารจัดการวัด: กรณีศึกษาวัดกำแพงเหนือ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูสันติถิรธรรม (นพดล ถิรสนฺโต) วัดกำแพงเหนือ ราชบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, วัดกำแพงเหนือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการวัด เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการวัด: กรณีศึกษาวัดกำแพงเหนือ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลบ้านสิงห์ จำนวน 277 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการวัด ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัญหาอุปสรรค คือ เศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น ควรดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะเฉพาะที่จำเป็น เน้นการบูรณปฏิสังขรณ์ที่รักษาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และผู้บวชใหม่บางรูปไม่เคร่งครัด ดังนั้น ควรสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ให้ได้รับได้รับการศึกษาในระดับสูง

References

ชุติกาญจน์ ผลบุตร์. (2557). การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณี วัดปัญญานันทาราม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูเกษมสมุทรคุณ (ทองหล่อ เขมธมฺโม). (2554). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรสมชาย สุวิชาโน. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2541). คำวัด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระปลัดมนต์ดก สุวโจ. (2554). การบริหารจัดการวัดของพระสงฆ์ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิพัฒนศาสนกิจวิธาน (พิพัฒน์ สุเมธโส). (2551). หลักการแนวคิดและวิธีการพัฒนาวัดพัฒนา 51. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2543). การเมืองมิใช่เรื่องของสงฆ์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

พระสมุห์เอก ชินวํโส. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสาธารณูปการ: กรณีศึกษาวัดในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชาอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite