การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไท-ยวน ในตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาสราวุฒิ สจฺจวโร วัดรางบัว ราชบุรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, พระสงฆ์, การอนุรักษ์วัฒนธรรมไท-ยวน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไท-ยวนในตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วม ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาอุปสรรค คือ สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ดังนั้น ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและสร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการค้า และขาดเครือข่ายในการทำงาน ดังนั้น ควรส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายและเน้นการประชาสัมพันธ์แก่คนรุ่นใหม่เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์

References

ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา: ชุมชนในตลาดร้อยปีสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิเทศ ตินณะกุล. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณย์จรีย์ สรสีสม. (2555). สงคราม 9 ทัพ และประวัติศาสตร์เมืองราชบุรี: กระบวนทัศน์การสืบสานอัตลักษณ์ 8 กลุ่มชาติพันธุ์. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

พระครูประภัสร์มโนธรรม (ธงทิพย์ ปภสฺสโร). (2555). บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการวิน ทีปธมฺโม. (2557). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาววัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วารินทร์ จิตคำภู. (2551). การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน (ไทยใหญ่) ในทัศนะของกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมอำเภอและจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมศึกษา.

สามารถ จันทร์สูรย์ และประทีป อินแสง. (2541). การศึกษากับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สิทธิโชค วิบูลย์ และคณะ. (2554). การศึกษาการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมชาวมอญเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนศาลาแดงเหนือ จังหวัดปทุมธานี (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite