การใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์วนวัฒน์ อินฺทปญฺโญ วัดคลองวาฬ ประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การใช้เทคโนโลยี, การส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น และ 3) เสนอแนะการใช้เทคโนโลยี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว คุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการใช้เทคโนโลยี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 2) เพศ อายุ รายได้ อาชีพ มีความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และ 3) ปัญหาอุปสรรค คือ การสนับสนุนส่งเสริมน้อยใช้สื่อสารรูปแบบเก่า ไม่ได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ยังไม่มีการบรรยายลงในโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ให้ความสนใจ

References

ฉัตรชัย ธรรมครบุรี. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนรางวัลพระราชทาน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทรงวิทย์ แก้วศรี (2550). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550)

นาวิน วงศรัตนมัจฉา. (2554) ผลสัมฤทธิ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกลุมชาติพันธุ์ลีซูของ พระธรรมจาริก (ปริญญาพุทธศาตรดุษดีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บัญชายุทธ นาคมุจลินท์. (2555) วิเคราะห์การบริหารองค์กรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดอุทัยธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2539). พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม ในหลักการบริหารและการจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.

พระกฤษประสงค์ ปาสาทิโก (ประดิษฐ์ขวัญ) (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโสภณธรรมพิทักษ์ (วิรัตน์ วิรตโน) (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียงของวัดธรรมรังสี อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2556). รูปแบบการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) และ บุญเตือน ทรัพย์เพชร. (2564). การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 423-433.

พระอักขราภิศุทธิ์ สิริวฒฺโน. (2560). กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite