การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การจัดการท่องเที่ยว, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, หลักอปริหานิยธรรม 7บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เขียนขึ้นเพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง โดยการนำหลักอปริหานิยธรรม7 เข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า รูปแบบจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดระยอง สามารถสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญ 2 หลักการ + 1หลักธรรม ประกอบด้วย 1.หลักการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การจัดการโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและโลจิสติกส์ การจัดการด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว 2.หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการตามแผน การติดตามและประเมินผล การร่วมรับผลประโยชน์ โดยการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 หลักธรรมที่นำไปสู่การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษของรัฐบาล ให้ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC ได้อย่างยั่งยืน
References
กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561 – 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก๊อปปี้ปริ้น.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด. (2562). สรุปข้อมูลจังหวัดระยอง. ระยอง: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ ครั้งที่ 34), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไมเคิล คีตติง.(ม.ป.ป. ) แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น