หินแร่ภูเขาไฟกับการเกษตรปลอดสารพิษในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มนตรี บุญจรัส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : หินแร่ภูเขาไฟ, การเกษตร, ปลอดสารพิษ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เพื่อศึกษาการสะสมของสารพิษทางการเกษตรต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อม พบว่า การใช้สารปรับปรุงดินในกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟสามารถช่วยลดการใช้สารพิษลงได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งปรกติภาคการเกษตรของประเทศไทย เกษตรกรมีการตื่นตัวปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องอาหารและสุขภาพที่ปลอดภัยไร้สารตกค้างส่งผลให้ไม่เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมา และลดการสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลทั้งส่วนตัวและภาครัฐ หินแร่ภูเขาไฟซึ่งเป็น “ลาวา” จากการระเบิดของภูเขาไฟที่หลอมละลายหินและแร่ต่างๆ ใต้พื้นพิภพ ระเบิดพวยพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศและค่อยๆลดอุณหภูมิเย็นตัวลงเกิดรูพรุนมหาศาลจากการระเหยของก๊าซและไอน้ำ ลาวาหรือหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ประกอบไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช สัตว์ จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนพื้นโลก และยังมีแร่ธาตุที่ชื่อว่า “ซิลิก้า” มากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่ช่วยทำให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรงจนโรคแมลงศัตรูพืชไม่สามารถกัดเจาะหรือทำลายได้โดยง่าย การนำหินแร่ภูเขาไฟมาใช้ในการเกษตรเชิงสารปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกและเพื่อลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจึงเป็นที่น่าจับตาและสร้างความสนใจให้แก่เกษตรกรในกลุ่มปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

References

กฤษฎา บุญชัย. (2547). เกษตรกรรมยั่งยืน: อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับปัญหาการเกษตรและอัตลักษณ์ชาวนาไทย. นนทบุรี: คณะกรรมการจัดงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน.

คำหาร ผุยผง.(2559). เกษตรกรรม. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2564, จากhttp://kh000004.blogspot.com

ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. (2541). พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์. กรุงเทพฯ: ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์. (2537). บทบาทของสารปรับปรุงดิน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นงลักษณ์ วิบูลสุข. (2542). การใช้หินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยเคมีดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.

บัญชา ตั้งวงษ์ไชย. (2541). การพัฒนาชุมชนกัการพัฒนาการเกษตร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. (2548). ระบบเกษตรกับความยั่งยืนของสังคมเกษตร: จากทฤษฎี...สู่ปฏิบัติ. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ. (2562). สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและความไม่ปลอดภัยในอาหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชีววิถี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

สุวิทย์ เหลืองลักษณ์. (2560). ประวัติพัฒนาการทางการเกษตร. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.eco-agrotech.com/ข่าวสารสาระน่ารู้/ประวัติพัฒนาการทางการเกษตรhtml

อมร เมธีกุล. (2515). ข่าวสารการธรณี. กรุงเทพฯ: ห้องสมุดกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.

Raven et al.,. (1993). Environment. California: Saunders College Pub.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite