การบูรณาการหลักธรรมในศาลเยาวชนและครอบครัว

ผู้แต่ง

  • อรพิน ตันติวิรุฬห์ ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครนายก

คำสำคัญ:

บูรณาการ, หลักธรรม, ศาลเยาวชนและครอบครัว

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการหลักธรรม ที่สำคัญคือ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และความไม่มีอคติ 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อช่วยให้เป็นไปตามนโยบายของศาลฯที่จะบรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาล อันได้แก่ การอำนวยความยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสความเสมอภาค เท่าเทียมกัน รวดเร็ว ทันสมัย โปร่งใสตรวจสอบได้มีการร่วมมือกับต่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับมาตรฐานและมีความเชื่อมั่นในระดับอารยประเทศ มีการประยุกต์หลักธรรมและยึดหลักการที่จะพิพากษา ในกรอบแนวความคิดใหม่ ที่ต้องบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู นอกเหนือจากการลงโทษ การบูรณาการหลักธรรมส่งเสริมการปฏิบัติงานของศาลเยาวชนและครอบครัวในการทำงานให้ไม่มีอคติ 4 คือยึดมั่นในความยุติธรรม มีความใส่ใจด้วยความรักในสิ่งที่ทำ ทำงานด้วยความขยัน หมั่นเพียร เอาใจใส่ พัฒนาการทำงาน อันเป็นหลักของอิทธิบาท 4 และยังต้องมีจิตใจเมตตา เอื้อเฟื้อ มีจิตที่อ่อนโยน อีกทั้งยังคงไม่ท้อถอยในอุปสรรค ด้วยหลักพรหมวิหาร 4 การที่ต้องปฏิบัติงานที่นอกเหนือจากการตัดสินคดีความ คือการวางแผนการดูแลเด็กและเยาวชนในระยะยาว  โดยสร้างโอกาสในการศึกษา การฝึกงาน ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหาแหล่งงานให้กับเยาวชนเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้งานของศาลเยาวชนและครอบครัวต้องทำเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้มีความสงบสุข

Author Biography

อรพิน ตันติวิรุฬห์, ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครนายก

ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก

References

จิรนิติ หะวานนท์. (2556). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (ภาคทั่วไป). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

สำนักงาน ก.พ. (2559). ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ หมวด 1-6. สืบค้น 7 เมษายน 2565, จาก https:www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/epic_201609923_05.pdf,

สำนักงานพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้น 13 มีนาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

พัชรภากร เทวกุล. (2550). การพัฒนาตัวแบบและนโยบายการเสริมสร้างความสมดุลระหว่างงาน และชีวิตที่เหมาะสมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2546) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12) กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553. (แก้ไขปรับปรุงตาม ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2558 ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2559) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127,ตอน 72 ก หน้า 30-31,38-39

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้น 14 มีนาคม 2565, จากhttps://www.jvnc.coj.go.th/th/content/page/index/id/57

สุวิทย์ พรพาณิชย์. (2552). สภาพปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างศาลเยาวขนและครอบครัวเพื่อรองรับการบริหารงานในศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งระบบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

อภิรดี โพธิ์พร้อม. (2554). การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนหนทางสู่ความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน ตอนที่1. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

Edward J, et al. (1993). Separation/Individuation: Theory and application. Retrieved March 14, 2022, from https://doi.org/10.4324/9781315825809.

King, M. S. (2008). Problem- Solving court judging, therapeutic jurisprudence and Transformational leadership. JJA, 17(115), 155-177.

Kouzes, J. et al. (2012). The Leadership Challenge. (5th ed.) United State of America: Jossey - Bass.

Pongpiphat. (2019) คดีแพรวา: อุบัติเหตุ ความสูญเสีย การชดใช้และการสำนึกผิด. Retrieved March 14, 2022, from. www..thematter.co

Teske, S. (2015) OP-ED: Transforming the “Bench Box” Judge. Retrieved March 14, 2022, from http://jjie/org./op-ed-transforming-the-bench-box-judge/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite