หลักภาวนา 4 กับการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรยุคชีวิตวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • ณิชาพัฒน์ คำดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักภาวนา 4, การปฏิบัติงาน, ชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอหลักภาวนา 4 กับส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรยุคชีวิตวิถีใหม่ พบว่า หลักพุทธธรรมเป็นหลักความประพฤติที่ดีที่ชอบ หากบุคคลใดมีศีลธรรมประจำใจหรือปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมก็ย่อมมีคุณธรรมและจริยธรรมติดตัวไปด้วยโดยจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมของแต่ละคนต่อเมื่อมีภารกิจหน้าที่ให้กระทำ สามารถนำมาปรับใช้ในการบูรณาการหลักพุทธจริยธรรม เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ศีลภาวนา คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย กายภาวนา คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การรักษาความสะอาดรับผิดชอบต่อสังคม จิตภาวนา คือ การเสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ เช่น การบริหารสภาพจิตใจให้สงบ มีสิติในการแก้ไขปัญหา และปัญญาภาวนา คือ การเสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ และการหยั่งรู้ความจริง เช่น การหมั่นหาความรู้เพิ่มพูนปัญญาให้ตนเองอยู่เสมอ

References

กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). การตื่นตัวกับ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การแบบ ชีวิตวิถีใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(1). 434-446.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2551). จริยธรรมสำหรับนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. 1(4),7 – 24

พระครูสิริภูรินิทัศน์ (ภูริณัฐ ดิษสวรรค์). (2562). วิถีการดำเนินชีวิตบุคลากรตามหลักพุทธธรรม. วารสารวิจัยวิชาการ. 2(2),107-119.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

________. (2544). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

พระสุนทรกิตติคุณ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในบุคลากร. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 3(1), 11-25.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน.

อริสรา อินยาศรี, (2553). การจัดทำบริหารสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้แผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Herbert A. & Simon. H. A. (1960). Administrative Behavior. New York: McMillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite