หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้บริหารธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • เพียงหทัย พงษ์สุวรรณ นักวิชาการอิสระ
  • พัชร์ศศิ เรืองมณีญาต์ นักวิชาการอิสระ
  • พงศ์นคร โภชากรณ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์, คุณภาพชีวิต, ผู้บริหาร, ธุรกิจก่อสร้าง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริหารธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร” การศึกษาหลักดังกล่าว พบว่า เป็นหลักที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อคุณภาพชีวิตดีอย่างยั่งยืน เพราะวิถีแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง มี 3 หลัก ได้แก่ พอประมาณ มีเหตุผล และภูมิคุ้มกันที่ดี หลักการนี้ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในปัจจุบัน กล่าวคือ นำหลักทั้ง 3 มาใช้ทำให้มีความพอประมาณในการบริโภค มีร่างกายสมบูรณ์ มีจิตใจที่มั่นคง เข้มแข็ง ใช้ชีวิตแบบมีเหตุผล ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่น ซื่อสัตย์สุจริต ลดกิเลส มีความยุติธรรม อดทน มีน้ำใจ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว จิตสำนึกดี มีศีลธรรม มีมิตรดี มีคนช่วยเหลือเกื้อกูล นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้บริหาร ยังมีหลักธรรมที่สามารถนำมาเชื่อมโยง ได้แก่ หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ประกอบด้วย 4 หลัก คือ ความหมั่นเพียร การเก็บรักษาทรัพย์ การมีมิตรดี และความเป็นอยู่ที่พอดี โดยที่ผู้บริหารจะมีกำลังกายใจทำงานด้วยความขยัน สามารถสร้างฐานะได้ดีในสังคม มีมิตรดีคอยช่วยเหลือ มีชีวิตที่พอดี เมื่อมีคุณภาพชีวิตดีจะส่งผลต่อองค์กร และประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และน้อมนำหลักธรรมมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างสมดุล และยั่งยืน

References

กิติปภา ยอดเศรณี. (2565, 9 กุมภาพันธ์). ผู้บริหารฝ่ายเงินเดือน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) [บทสัมภาษณ์].

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข. (2564). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เฉพาะ(Bubble and Seal) สำหรับสถานประกอบกิจการ. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/BBS_5P_001.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2562). โรคซึมเศร้าทำใจพัง. สืบค้น 20 มีนาคม 2565,จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/1718206

แก้วขวัญ นาถนิติธาดา. (2555). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง sufficiency Economy. สืบค้น 19 มีนาคม 2565, จาก http://www.excise.go.th

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562-2564). กิจการก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรายงาน ประจำปี และ56-1. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จากhttps://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/itd/financial-statement/company-highlights

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2533). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. เอกสารชุดการสอนวิชาการแนะแนวกับ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2552). เศรษฐกิฐพอเพียง. สืบค้น 19 มีนาคม 2565, จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/item/19-2009-10-30-07-44-57.html

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์ พับลิเคชั่น.

วิทยากร เชียงกูล. (2556). เศรษฐศาสตร์แนวใหม่เพื่อชีวิต และระบบนิเวศที่สันติสุข. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถของมนุษย์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2552). คุณภาพ ชีวิต (Quality of Life). สืบค้น 20 มีนาคม 2565,จาก http://training.siamhrm.com/?name=organizer&file=organizer_Detail&id=32

สิปปนนท์ เกตุทัต. (2533). ระบบการศึกษาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวอย่างไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สารานุกรมในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร.(2552). เศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริ. วารสารชัยพัฒนา. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จาก https://www.hii.or.th/wiki84/index.php?title

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 19 มีนาคม 2565, จาก https://bit.ly/3LKFuij

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite