พุทธธรรมกับการบริหารที่ดีตามพันธกิจของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
คำสำคัญ:
หลักอิทธิบาท 4, การบริหาร, พันธกิจบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งอธิบาย การปะยุกต์หลักอิทธิบาท 4 และหลักบริหารธรรมาภิบาล 6 มาส่งเสริมการบริหารที่ดีตามพันธกิจของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งหลักอิทธิบาท 4 นั้น เป็นธรรมที่นำมาสู่ความสำเร็จ มี 4 ประการ คือ 1) ฉันทะ มีความพอใจที่จะบริหารงานให้ได้บรรลุผลสำเร็จตามพันธกิจ 2) วิริยะ บริหารงานอย่างสุดความสามารถและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 3) ด้านจิตตะ มีความรอบคอบก่อนที่จะให้นำไปปฏิบัติ 4) ด้านวิมังสา พิจารณาใคร่ครวญเพื่อเป็นแนวทางครั้งต่อไป และหลักบริหารรธรรมาภิบาล 6 ประกอบด้วย 1) หลักนิติธรรม กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานที่ชัดเจน 2) หลักคุณธรรม ส่งเสริมการดำเนินงานโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ 3) ความโปร่งใส เน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ 4) ด้านการมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่ายในการทำงาน 5) ด้านสำนึกรับผิดชอบ มีความชัดเจนรวมทั้งผู้รับผิดชอบภายในของแต่ละงาน 6) ด้านความคุ้มค่า ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลการบริหารงานของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้สร้างพึงพอใจแก่ผู้รับบริการซึ่งถือเป็นหลักการที่สามารถบริหารให้สมาคม และยังสามารถจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานและเป้าหมายที่จะช่วยสมาคมทำงานได้อย่างเหมาะสมและใช้บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพให้ดีที่สุด
References
ข่าวสารสมาคม. (2565). กิจกรรมสมาคม. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.tuda. or.th/index.php/tuda-news/
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2550). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสรรค์ ศรีประเสริฐ. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2553). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). ประวัติสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://asa.or.th
แสงอรุณ โปร่งธุระ. (2539). พุทธศาสน์. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารตำรา สำนักส่งเสริมวิชาการสถาบันราชภัฏธนบุรี.
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2555). องค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Agere, S. (2000). Promoting Good Governance: Principles, Practices and Perspective. London: Commonwealth Secretariat.
Bardo, J. W. & Hartman, J. j. (1982). Urban Sociology: A Systematic Introduction. U.S.A.: F.E. Peacock Publishers, Inc.
Gulick, L & Urwick, L. (1973). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น