นักการเมืองท้องถิ่นในระบบราชการ
คำสำคัญ:
นักการเมืองท้องถิ่น, ระบบราชการ, องค์กรปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบและโครงสร้างการปกครองของประเทศไทย หลักและแนวคิดของการกระจายอำนาจ นักการเมืองท้องถิ่น บทบาทและหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่น ปัญหาการเมืองท้องถิ่นและแนวทางการแก้ปัญหา ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่เป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยหลักการกระจายอำนาจเป็นที่ซึ่งนักการเมืองระดับท้องถิ่นได้มีโอกาสที่จะนำเสนอนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและการอภิปรายกันในสภาท้องถิ่น ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสภาระดับชาติ มีจุดมุ่งหมายให้ท้องถิ่น สามารถปกครองตนเองเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐส่วนกลาง แต่ปัจจุบันการปกครองท้องถิ่นยังคงประสบปัญหาด้านโครงสร้างการบริหารกล่าวคือมีการกำหนดอำนาจหน้าที่การบริหารที่ทับซ้อนกันและปัญหาด้านงบประมาณที่ยังคงต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐส่วนกลาง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต อีกทั้งนักการเมืองท้องถิ่นยังต้องคอยรับนโยบายคำสั่งจากรัฐและไม่มีอิสระในการปกครองตนเองได้อย่างเต็มที่ ปัญหาดังกล่าวทำให้การพัฒนาระดับท้องถิ่นในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หากปัญหาต่างๆ ได้มีการแก้ไขจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นอย่างมากมายทำให้ท้องถิ่นพัฒนาสามารถพึ่งพาตนเองได้
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). มาตรฐานการบริหารและการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 30 เมษายน 2565, จาก http://www.dla.go.th/work/e_book/ eb1/eb1.htm
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2511). พัฒนาการเศรษฐกิจประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยากร.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2532). ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัชรินทร์ อินทพรหม. (2560). รูปแบบและโครงสร้างการปกครองเปรียบเทียบไทยกับเมียนมาร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(2), 15-26.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2548). นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: หนังสือสำหรับเสริมพลังความคิดและหลักวิชาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2551). การกระจายอำนาจกับแบบแผนใหม่ของเครือข่ายอิทธิพล. ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ) ก้าว (ไม่) พ้นประชานิยม: กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2555). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงบประมาณ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท แพค เพรส จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ความรู้เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและวัฒนธรรมการเมือง. สืบค้น 30 เมษายน 2565, จาก https://www.tambondonsai.go.th/datacenter/doc_download/a_100820_190723.pdf
สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2558). แผนยุทธศาสตร์เฉพาะด้านกระทรวงมหาดไทย 10 ปี (พ.ศ. 2557–2566). สืบค้น 30 เมษายน 2565, จาก https://www.dol.go.th/DocLib4/plan_10year.pdf
สุวัสดี โภชน์พันธุ์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น