การบริหารงานที่ดีตามหลักพุทธธรรมของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหาร, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ขอเสนอการบริหารงานที่ดีตามหลักพุทธธรรมที่ส่งผลไปถึงการบริหารงาน กระบวนการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายเพราะต้องเผชิญกับการปรับเปลี่ยนรากฐานโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การค้าการบริการเพื่อก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจโลก จึงได้น้อมนำเอาหลักพุทธธรรมอิทธิบาท 4 หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นกระบวนการส่งเสริมการบริหารงานอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานที่ดีคือหลัก PDCA ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการและการปรับปรุงในเรื่องการส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทยเพราะการบริหารงานที่ดีนอกจากจะพัฒนาตามปัจจัยทางการบริหารพื้นฐานขององค์กรแล้ว การปฏิบัติงานของบุคลากรก็จะทำให้การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานนั้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดี อันเป็นการสร้างแรงผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีทางและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานอย่างจริงจังและยั่งยืนต่อไป
References
การพัฒนาสู่ความยั่งยืน. (2565). กลยุทธ์และเส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. สืบค้น 7 มกราคม2565, จากhttps://www.minor.com/th/sustainability/framework-strategy-and-roadmap
จุมพล หนิมพานิช. (2556). การบริหารและการพัฒนาองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทยธรรมาธิราช.
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตน. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 1-3.
พระครูอุทัยสุตกิจ. (2558). ความสำเร็จของการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทสี่ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(2), 161-171.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2537). การบริหารองค์กรสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Darawong. (2013). C.Expatriate Management for the era of ASEAN Free Trade. Business Administration Journal, 36(138), 28-39.
Sukegawa. (2013). S.Trend of Investment and Movement of Japanese Affiliates Toward ASEAN Economic Community (AEC) Era. Japanese Studies Journal, 30(2), 23-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น