การระงับอธิกรณ์ : วิเคราะห์การทำงานของคณะสงฆ์และหมอปลา
คำสำคัญ:
การระงับอธิกรณ์, คณะสงฆ์, หมอปลาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษการระงับอธิกรณ์และวิเคราะห์การทำงานของคณะสงฆ์และหมอปลา ผลการศึกษาพบว่า การระงับอธิกรณ์ ใช้อธิกรณะ 7 (เป็นวิธีการสำหรับระงับอธิกรณ์หรือแก้ปัญหาในสงฆ์) 1.วิวาทาธิกรณ์ การวิวาทกัน ใช้ 2 วิธี คือ1) สัมมุขาวินัย วิธีระงับพร้อมหน้า 2) เยภุยยสิกา การตัดสินตามข้างมาก 2. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ ใช้ 4 วิธีคือ 1) สัมมุขาวินัย วิธีระงับพร้อมหน้า 2) สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติ 3) อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า 4) ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด 3. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติใช้ 2 วิธี 1) ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ 2) ติณวัตถารกวินัย วิธีประนีประนอม 4. กิจจาธิกรณ์ เรื่องที่เป็นสังฆกรรม ใช้ 2 วิธีคือ 1) นิคคหะ การข่ม ลงโทษ 2) ปัคคหะ การยกย่อง เชิดชู ส่วนการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์และหมอปลามีหลักการเดียวกันคือเพื่อความเรียบร้อยของสงฆ์กำราบพระภิกษุที่ประพฤติผิดและสร้างศรัทธาให้แก่ประชาชน วิธีการที่ปฏิบัติแตกต่างกันออก คือ คณะสงฆ์รับผิดชอบโดยตรงในการระงับอธิกรณ์ แตกต่างจากหมอปลาที่เข้ามาช่วยโดยการร้องเรียนจากชาวบ้านให้เข้ามาช่วยตรวจสอบ
References
ข่าวสด ออนไลน์. (2565). หมอปลาบุกวัดดัง เจ้าอาวาสโวยไม่ได้มั่วสีกา. สืบค้น 12 เมษายน 2565, จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6881017.
คชาภรณ์ คำสอนทา. (2561). รูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี(ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โชติ ทองประยูร. (2535). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
เดลินิวส์ ออนไลน์. (2565). ‘พระพะยอม ชมเปาะ หมอปลา’ ชี้ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา. สืบค้น 12 เมษายน 2565, จาก https://www.dailynews.co.th/news/753973/
ถวัลย์ ทองมี. (2535). คู่มือพระวินยาธิการ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ภาพพิมพ์.
พระเทพปวรเมธี. (2562). จากปฏิรูปสู่การปฏิบัติแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534). การศึกษาสากลลนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.
พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ไทย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยงยุทธ วัชรดุลย์.(2548). องค์พุทธมามกะ ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด มหาชน.
รายการบางอ้อ Adam Last. (2556). ประวัติ หมอปลา มือปราบสัมภเวสี ผู้ปลดปล่อยดวงวิญญาณ. สืบค้น 16 เมษายน 2565 จาก, https://hilight.kapook.com/view/90344.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น