ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กิตติ พุทธนพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ยุทธนา ปราณีต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การมีส่วนร่วม, การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผล 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัย และ 3) ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน  เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี เพศ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน 3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ปัญหาคือ ข่าวคราวการทุจริต เห็นแก่วัตถุสินบน และการคอรับชั่นในสังคม การยกย่องและสนับสนุนคนที่มีอิทธิพล การยึดติดกับตัวบุคคล แนวทางแก้ไข คือ ต้องให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบและติดตามการทำงานของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูง สังคมยกย่องคนดี มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม สร้างการรับรู้ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่เป็นจริง รัฐต้องกลั่นกรองข่าวสาร

References

กองราชการส่วนตำบล. (2560). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

กิตติม์ บุญชูวิทย์และคณะ. (2546). การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในเขตจังหวัดขอนแก่น (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิรายุ ทรัพย์สิน. (2554). การพัฒนาประชาธิปไตยในมิติของการปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : การปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นัยนา บำรุงศิลป์. (2559). บทบาทของคณะกรรมการชุมชนในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย : ศึกษากรณีคณะกรรมการชุมชนในเขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลางกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุศรา โพธิสุข. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 151-164.

พิสิษฐ์ วงศารตัน์ศิลป์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 190-202.

แพรวศรี ถ้อยคำ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาวอำเภอสอยดาวจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มงคลศักดิ์ เมืองธรรม. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของประชาชนและทัศนคติต่อการดำเนินนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุทธพงษ์ เขื่อนแก้ว. (2559). ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 89-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite