การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • มนัสนันท์ ศิวะพรพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ยุทธนา ปราณีต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การสื่อสารทางการเมือง, การใช้สิทธิ์, การเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็น 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการสื่อสาร และ 3) ข้อเสนอแนะการตัดสินใจของประชาชนต่อการสื่อสารของนักการเมืองในการเลือกตั้ง การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากประชาชน จำนวน 398 คน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับดังนี้ ด้านประชาชนหรือผู้รับสาร ด้านสื่อ และด้านองค์กรทางการเมือง 2. ประชาชนที่รายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชุมพร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยองค์กรทางการเมืองต้องให้ความรู้แก่ประชาชนถึงความสำคัญของการไปออกเสียงเลือกตั้ง สื่อต้องทำความเข้าใจในทางที่ถูกและเป็นกลาง องค์กรทางการเมืองต้องนำเสนอข่าวการเลือกตั้ง ที่สร้างสรรค์เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และต้องหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสาร ให้วิเคราะห์บนพื้นฐานความเป็นจริง

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.

ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง และชลิต ศานติวรางคณา. (2557). ความสัมพันธ์ของการสื่อสารที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตเทศบาลนคร จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 46-62.

พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต (คงชีวะ). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศิวพล พลเมธี (ใกล้ชิด). (2563). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ (ประทุมทอง). (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐ กันภัย. (2558). การสื่อสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลเขตจังหวัดภาคตะวันตกตอนล่าง. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1), 465-482.

รัตนา สารักษ์. (2563). การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา

จังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสถียร เชยประทับ. (2540). การสื่อสารกับการเมืองเน้นสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lec, B et al., (1975). The Development of Political Cognition, in Political Communications: Issues and Stralegies for Research,ed. Stven Chaffcc. Beverly Hills: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite