การส่งเสริมการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านตามหลักพละ 4

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ศักดิ์ตระกูล ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซ่งเฮง อินเตอร์ เทรดดิ้ง

คำสำคัญ:

กองทุนหมู่บ้าน, การบริหาร, หลักพละ 4

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการส่งเสริมการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ พันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา เบื้องต้นของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกในองค์กรหรือหน่วยงาน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การบริหารกองทุนหมู่บ้านให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในองค์กร สนับสนุนความก้าวหน้า และส่งเสริมให้สมาชิกได้เกิดการพัฒนาตนเอง ทั้งนี้ผู้นำองค์กรต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับสมาชิกให้ชัดเจน ถูกต้อง

แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญคือ การสนับสนุนการศึกษา การวางแผน การพัฒนา การอบรม การทำงานเป็นทีม และการสร้างวัฒนธรรมอันดีในการอยู่ร่วมกัน มีความเข้าใจกัน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการส่งเสริมการบริหารและการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และให้มีการบรูณาการกับหลักธรรมพระพุทธศาสนา อันได้แก่ หลักพละ 4 ประกอบด้วย ปัญญาพละ วิริยะพละ อนวัชชพละ และสังคหพละ เพื่อให้การบริหารงานและการปฏิบัติงานของสมาชิกบรรลุตามเป้าหมายองค์กร โดยการนำหลักธรรมนี้ไปใช้โดยการประยุกต์เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน แล้วจะทำให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อม ปัญหาต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ได้ถึงทางแก้ปัญหา และการทำงานของสมาชิกมีความขยัน ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบ เสียสละ มานะ อดทน แล้วก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน

References

ขวัญชนก ใจเสงี่ยม. (2558). การบริหารงานของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องวอยซ์ทีวี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรชัย สุกธมฺโม. (2554). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เซ็นจูรี่.

ไพบูลย์ ตั้งใจ. (2554). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานตามหลักอิทธิบาท 4. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. สืบค้น 12 มิถุนายน 2565, จาก http://www.villagefund.or.th/ประวัติความเป็นมา.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุลและธีระวัฒน์ จันทึก. (2558). การบริหารจัดการคนเก่งเชิงกลยุทธ์ : ปัจจัยสำคัญสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 1096-1112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite