การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สุพล ศิริ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การเตรียมพร้อม, สังคมผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ดังนั้น การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่จะมองข้ามปัญหานี้ไปและให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากกว่าอนาคต ข้อมูลด้านประชากรในปัจจุบันพบว่า ประชากรประมาณร้อยละ 9 มีอายุสูงกว่า 65 ปี และในปี พ.ศ. 2583 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ยักพบว่า ผู้สูงอายุของประเทศไทย 2 ใน 3 ส่วน ไม่มีเงินออม และส่วนที่มีเงินออมมากกว่า 1 ล้านบาทนั้นมีเพียง ร้อยละ 5 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยยังมีอยู่ในระดับจำกัด ดังนั้น การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงควรดำเนินการร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยการร่วมมือกันจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพ การออมและการลงทุน เป็นการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวด้านสังคมและจิตใจ และการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จำเป็นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อมีการบริหารจัดการและพัฒนาที่ดี ประเทศไทยก็จะพ้นวิกฤตได้ไม่ยากนัก

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). เติมรู้เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ปัณณทัต ตันบุญเสริม. (2561). ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางตอนล่างที่ 1. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(1), 127-136.

กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 3 มกราคม 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.

บริษัท รู้ใจ จำกัด. (2564). เมื่อไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” อะไรบ้างที่คุณต้องรู้และปรับตัว. สืบค้น 3 มกราคม 2565, จาก https://www.roojai.com/article/lifestyle/older-population-in-thailand/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite