การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
คำสำคัญ:
การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแผ่กับพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการเผยแผ่ ผลการศึกษาพบว่า โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเป็นกระบวนการบ่มเพาะ กล่อมเกลาจิตใจของเยาวชนที่กำลังเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ให้รู้จักศีลธรรม เพื่อเป็นคนดีไม่เป็นภาระแก่สังคมและสามารถทำประโยชน์แก่สังคมและพระสอนศีลธรรมได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วถ่ายทอดให้แก่เยาวชนเป็นการฝึกในการเผยแผ่ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการเผยแผ่ พระสอนศีลธรรมมีศักยภาพ 2 ด้านประกอบด้วย กายภาพคือ มีศีลาจารวัตร มีการพูดและการปฏิบัติตนที่น่าเลื่อมใส ในด้านจิตภาพประกอบด้วยคุณธรรมในการเผยแผ่และมีคำสอนที่น่าเชื่อถือประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 อย่าง คือ มีภาวะผู้นำที่เกิดจากความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดี มีหลักธรรมและสื่อการสอนที่ทันสมัยน่าสนใจและมีศิลปะในการสื่อสารประกอบด้วย 4 ส.คือ แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง จะทำให้การเผยแผ่พุทธศาสนาเกิดประสิทธิภาพและเยาวชนจะสามารถเรียนรู้ธรรมะจนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
References
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). คุณธรรมจริยธรรม: หลักและวิธีการพัฒนาจริยศึกษาในสถาบันสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ปรีชา กันธิยะ. (2550). คู่มือโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน (การเรียนการสอน) ปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ. (2547). พุทธศาสนากับการพัฒนา วิชาการพุทธศาสนาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ไทย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม. (2540). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Chantana. C. (2565). คำสอนขงจื้อ 10 คำสอนที่ดีที่สุดที่ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/UX3Bq
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น