การพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานที่ดีขององค์กร ตามหลักอิทธิบาทธรรม

ผู้แต่ง

  • อรรถพล เสือคำรณ บริษัท เวิล์ด ออฟเอนเนอร์จี จำกัด

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, การบริหารงานที่ดีขององค์กร, หลักอิทธิบาทธรรม

บทคัดย่อ

การบริหารงานขององค์กรแต่เดิมมีการพัฒนาสมรรถนะในด้านของแนวคิด กลยุทธ์ที่นำมาประยุกต์ให้เข้ากับองค์กรทั่วไปในเบื้องต้นเท่านั้น และเมื่อได้มีการนำมาประยุกต์โดยใช้หลักอิทธิบาทธรรมทั้ง 4  ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย ฉันทะ(ความพึงพอใจ) วิริยะ(ความเพียรพยายาม) จิตตะ(ความมุ่งมั่น) วิมังสา(ความเข้าใจ) เพื่อให้เป็นการพัฒนาสมรรถนะการบริหารองค์กรที่ดี ดังนั้นแนวทางการบริหารรูปแบบเมื่อพัฒนาตามแนวทางของหลักอิทธิบาทธรรมแล้ว ต้องมีการปฏิบัติโดยมีความพึงพอใจ มีความเพียรพยายามอย่างตั้งใจ มีการวางแผนที่ดีซึ่งมีการมุ่งพัฒนาตนเองเพื่อองค์กร และมีความเข้าใจในการปฏิบัติงานในองค์กรด้วย เพราะเมื่อมีการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นไปในรูปแบบของอิทธิบาทธรรมแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ทำให้เกิด “ความพึงพอใจในการพัฒนา” เพราะว่าการพัฒนาตนเองนั้นต้องมีความพึงพอใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ที่ “หมั่นเพียรไฝ่หาความรู้” เพราะการพัฒนาตนเองต้องมีความเพียรพยายามจึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ เพื่อเป็นบุคคลที่มีความ “มุ่งมั่นตั้งใจพินิจดู” โดยต้องมีความตั้งใจในการพัฒนาตนมีการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบเพื่อเป็นผู้ “เข้าใจรู้เพราะใช้ปัญญา” เพราะความเข้าใจทำให้เกิดการใช้ปัญญามีการวางแผนที่ดี เพื่อให้เกิดการบริหารองค์กรที่ดีขึ้นต่อไป

References

กมลรัตน์ แสนใจงาม. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

กัญญาฎา พวงมะลิ. (2556). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

แคมปัส. (2563). บทบาทผู้บริหาร คุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร ความหมายของผู้บริหาร. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://campus.campus-star.com/jobs/126849.html

จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1597915712_6114832012.pdf

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และจินตการ สุธรรมดี. (2560). การประยุกต์ใช้สมรรถนะ เพื่อพัฒนาทรัพยกรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 262-269.

ติวฟรี. (2564). อิทธิบาท 4 ทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://www.tewfree.com/อิทธิบาท 4/

นันทวัฒชัย วงษ์ชนะชัย. (2554). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสายงานผลิตของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าตามมาตรฐานอาชีพ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 645-656.

โปรซอฟท์. (2562). การบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://www.prosofthrmi.com/Article/Detail/105942

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2544). วิถีแห่งความรู้แจ้ง. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dhamma.com/vidhi/

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิศึกษาเพื่อสันติภาพ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยา อินทร์สอน. (2552). แนวทางการพัฒนาระบบสมรรถนะ เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://shorturl.asia/S5QRF

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2549). การบริหารจัดการสมรรถนะในองค์การ (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการพัฒนาข้าราชการตามสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

สมบูรณ์ ศรีสมานุวัตร. (2553). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์กรโดยอาศัยสมรรถนะ (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

สมาน ศรีสะอาด และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สารานุกรมเสรี. (2562). อิทธิบาท 4. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อิทธิบาท_4

HR NOTE.Asia. (2562). เสริมสร้างสมรรถนะ (Competency) ให้บุคลากร ส่งเสริมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้น10 มิถุนายน 2565, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190624-competency/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite