เยาวชนรุ่นใหม่กับรัฐบาลไทยยุค New Normal

ผู้แต่ง

  • พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอภิวัชร์ โภคสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอความหมายของชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) รัฐบาลไทยยุค New Normal เยาวชนคนรุ่นใหม่ การแสดงออกของเยาวชน และทางออกของเยาวชนกับรัฐบาลไทยยุค New Normal ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลได้เตรียมจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐในยุค New Normal ขณะที่กลุ่มเยาวชนมองว่าการบริหารงานจัดการของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ เยาวชนจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทั้งด้านการการศึกษา เศรษฐกิจของครอบครัว และความกังวลเรื่องการงานเมื่อศึกษาจบ อีกทั้งยังรับรู้ข่าวมูลข่าวสารทางโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารงานของรัฐบาล โครงสร้างการบริหารที่เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่ม ความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศ การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้เยาวชนมีความเคลือบแคลงสงสัยและไม่พอใจจึงลุกขึ้นเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลมองเห็นถึงปัญหาที่แท้จริง แต่รัฐบาลไม่สนใจรับฟังกลับมองว่าไม่ใช่เรื่องของเด็กและเลือกที่จะไม่สนใจ จึงเกิดการชุมนุมที่แตกต่างไปจากในอดีต โดยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่คือเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ใช้การสื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นหลักโดยมุ่งหวังให้สังคมและประเทศมีการพัฒนา ดังนั้นรัฐบาลควรมีแนวทางปรับปรุงพัฒนาการบริหารใหม่เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เชื่อมั่นไว้วางใจเลือกเป็นแบบอย่างที่ดีเมื่อเยาวชนเติบโตขึ้นจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). 20 ก.ย. วันเยาวชนแห่งชาติ สรุปสถานการณ์ ‘เด็กและเยาวชน’ ไทย กำลังเจอกับอะไร. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2562, จาก https://shorturl.asia/jKTEc

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ และคณะ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2549). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสภา. (2563). เบื้องหลังการบัญญัติศัพท์คำว่า New normal. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://royalsociety.go.th

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สรายุทธ แก้วกุลปรีชา. (2564). การบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กลไกของฝ่ายปกครองในการแก้ไขปัญหาด้วยการบูรณาการและนวัตกรรม. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.personnel.moi.go.th/recruitment/2564

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/rNbi5

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565, จาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2020/01/เล่มสรุปสาระสำคัญของปฏิรูปประเทศ.pdf

สุชาดา เรืองแสงทองกุล. (2560). การกระทำทางรัฐบาลและปัญหาการตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

iLaw. (2564). 1 ปี ม็อบเยาวชนปลดแอก: ข้อเรียกร้อง “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ยังไม่คืบหน้า. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://ilaw.or.th/node/5920

Natchaphon B. (2563). คุณเกิดในเจเนอเรชั่นไหน มาดูความแตกต่างของคนแต่ละเจนกัน. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.sanook.com/campus/1401267/

Parry & Urwin. (2011). Generational Differences in Work Values: A Review of Theory and Evidence. International Journal of Management Reviews, 13(1), 79-96.

TCIJ. (2563). เครือข่ายเด็กและเยาวชน เรียกร้องหยุดความรุนแรงต่อเด็ก เยาวชน และประชาชน. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/W9jfa

Thomas R, D. (2011). Understanding Public Policy. (13th ed). New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite