อิทธิบาทธรรมในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมธุรกิจพลังงาน

ผู้แต่ง

  • อรรถพล เสือคำรณ บริษัท เวิล์ด ออฟเอนเนอร์จี จำกัด

คำสำคัญ:

อิทธิบาทธรรม, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งการเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้กรมธุรกิจพลังงานเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะพัฒนาองค์กรและบุคลากร เพื่อการเรียนรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง และการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่องค์กรเป็นผู้ดูแล บุคลากรถือเป็นกลไกที่สำคัญขององค์กรที่จะนำให้องค์กรก้าวไปสู่ผลสำเร็จ การที่จะทำให้บุคลากร มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องมีการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความชำนาญในสาขาอาชีพของตนเอง อีกทั้งต้องเพิ่มการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดทักษะและสามารถนำเอาความรู้ใหม่ ๆ มาพัฒนาองค์กรได้ และเพิ่มการพัฒนาในสายงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่การปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติงานและลักษณะงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงได้น้อมนำหลักอิทธิบาทธรรม คือธรรมที่นำมาซึ่งความสำเร็จ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรให้ดียิ่งขึ้นไป ประกอบไปด้วย ด้านฉันทะ คือความที่บุคลากรพึงพอใจในงาน ด้านวิริยะ คือบุคลากร ต้องพากเพียร หมั่นกระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายาม ด้านจิตตะ คือบุคลากรต้องเอาจิตฝักใฝ่ ตั้งจิต รับรู้ในสิ่งที่ทำ ด้านวิมังสา คือบุคลากรต้องหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบ

References

กรมธุรกิจพลังงาน. (2556). แผนบริหารความต่อเนื่องของกรมธุรกิจพลังงาน. คณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องและคณะอนุกรรมการบริหารความต่อเนื่องกรมธุรกิจ กระทรวงพลังงาน. สืบค้น 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.doeb.go.th/data/plan-kpr/6.pdf

กันตยา เพิ่มผล. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ. บริษัทบุญศิริการ พิมพ์ จำกัด.

ตุลา มหาสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ทรงธรรม ธีระกุล. (2548). การสื่อสาร: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กร. วารสารปารีชาต, 18(1), 51-61.

ทรัพยนิรันดร์ สุวรรณศร และ Supnirun Suwannasorn. (2561). การศึกษาความต้องการใช้ไฟฟ้าในระดับครัวเรือน: กรณีศึกษา ประเทศไทย. สืบค้น 1 มิถุนายน 2565, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:164677.

ทิพยาภา น้อยสกุล. (2553). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์กรของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (รายงานโครงการวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสื่อสารองค์กร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ : ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิจิตรหัตกร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). การพัฒนาองค์กรและบุคลากร: แนวคิดใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุรชัย พรหมพันธ์. (2554). ชำแหละสมรรถนะเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ ปัญญาชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite